พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เว็บย่อ:
KingBuddhaLoetla
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
King Buddha Loetla Nabhalai.jpg
พระบรมนามาภิไธย ฉิม
พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
รัชกาล 15 ปี
รัชกาลก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดประจำรัชกาล วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310
สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
รวมพระชนมพรรษา 57 พรรษา
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระราชมารดา สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
พระอัครมเหสี สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระราชบุตร 73 พระองค์
พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310-21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายนพ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคมพ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อ วันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสวยราชสมบัติ เมื่อปีมะเส็ง ปีพ.ศ. 2352 - 2367 ขณะมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา
เนื้อหา
1 พระนามเต็ม
2 ครองราชสมบัติ
3 พระปรีชาสามารถ
3.1 ด้านกวีนิพนธ์
3.2 ด้านปฏิมากรรม /ประติมากรรม
3.3 ด้านดนตรี
4 เสด็จสวรรคต
5 พระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา
6 ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ
7 พงศาวลี
8 ดูเพิ่ม
9 อ้างอิง
พระนามเต็ม[แก้]
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระนามเต็มเมื่อขึ้นครองราชย์ว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ซึ่งเหมือนกับพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทุกตัวอักษร เนื่องจากในเวลานั้น ยังไม่มีธรรมเนียม ที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกันในแต่ละพระองค์
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ออกพระนามรัชกาลที่ 2 ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ตามนามของพระพุทธรูปที่ทรงโปรดให้สร้างอุทิศถวาย[1] และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่เป็นพระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐ มเหศวรสุนทร ไตรเสวตรคชาดิศรมหาสวามินทร์ สยารัษฎินทรวโรดม บรมจักรพรรดิราช พิลาศธาดาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย[2]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เฉลิมพระนามใหม่เป็นพระบาทสมเด็จพระรามาธิดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย[3]
ครองราชสมบัติ[แก้]
เมื่อถึงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตด้วยพระโรคชรา ขณะมีพระชนมายุได้ 73 พรรษา นับเวลาในการเสด็จครองราชย์ได้นานถึง 27 ปี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงได้เสด็จขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ 2 ได้ย้ายมาทำพิธีที่หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เนื่องจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทซึ่งสร้างขึ้นแทนพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทอันเป็นสถานที่ทำพิธีปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้นใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกอยู่ ในรัชกาลต่อ ๆ มาจึงใช้หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเป็นสถานที่จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและใช้พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นสถานที่ตั้งพระบรมศพ หลังจากเสร็จพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์จึงเสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราตามโบราณราชประเพณี
พระปรีชาสามารถ[แก้]
พระราชลัญจกรประจำพระองค์
พระมหากษัตริย์แห่ง
ราชวงศ์จักรี
Buddha Yodfa Chulaloke portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
Buddha Loetla Nabhalai portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
Nangklao portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
Rama4 portrait (cropped).jpg พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Chulalongkorn.jpg พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Vajiravudh.jpg พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
Prajadhipok portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Ananda Mahidol portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
Bhumibol Adulyadej portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ด • พ • ก
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ดังจะขอยกตัวอย่างต่อไปนี้
ด้านกวีนิพนธ์[แก้]
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรำที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทำนองกลอนและกระบวนการเล่นทั้งร้องและรำ นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่นๆ เช่น ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวี มณีพิชัย สังข์ศิลป์ชัย ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขนอีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนมีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดงมาจนทุกวันนี้
ด้านปฏิมากรรม /ประติมากรรม[แก้]
นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งไทยด้วยพระองค์เอง ซึ่งลักษณะและทรวดทรงของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นแบบอย่างที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 2 นี้เอง ส่วนด้านการช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายในรัชกาลของพระองค์ได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก และพระองค์เองก็ทรงเป็นช่างทั้งการปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญยิ่งพระองค์หนึ่งอย่างยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้ นอกจากฝีพระหัตถ์ในการปั้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลกแล้ว ยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทำจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่าพระยารักใหญ่ และพระยารักน้อยไว้ด้วย
ด้านดนตรี[แก้]
กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า" แต่ต่อมามักจะเรียกว่า "เพลงทรงพระสุบิน" เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง โดยเล่ากันว่าคืนหนึ่งหลังจากได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวรรค์ ณ ที่นั่น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นบรรทมก็ยังทรงจดจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงานดนตรีมาต่อเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแพร่ได้ เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางมาจนทุกวันนี้
เสด็จสวรรคต[แก้]
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรด้วยโรคพิษไข้ ทรงไม่รู้สึกพระองค์เป็นเวลา 8 วัน พระอาการประชวรก็ได้ทรุดลงตามลำดับ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริรวมพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา และครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี
พระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา[แก้]
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมี พระราชโอรส - พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 73 พระองค์ โดยประสูติเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร 47 พระองค์ ประสูติเมื่อดำรงพระอิสรยยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล 4 พระองค์ และประสูติภายหลังบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว 22 พระองค์[4]
พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม
ดูบทความหลักที่: รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 2
พระราชโอรสและพระราชธิดา
ดูบทความหลักที่: พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีอุปราชาภิเษก ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุ้ย ในรัชกาลที่ 1 ขึ้นเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชเจ้า
สถาปนาพระราชชนนีขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระราชชนนีในรัชกาล 2
กรุงสยามมีการเปลี่ยนธงประจำชาติ จากธงแดง เป็นธงช้าง มีลักษณะพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นวงกลมสีขาว มีรูปช้างเผือกสีขาวภายในวงกลม แต่เมื่อจะใช้ชักเป็นธงบนเรือสินค้า ให้งดวงกลมออกเสีย เหลือแต่รูปช้างเผือกสีขาวเท่านั้น ดังนั้น บันทึกที่พบในต่างประเทศจึงระบุว่ากรุงสยาม ใช้ธงประจำชาติเป็นรูปช้างเผือกสีขาวบนพื้นแดง ดูเรื่อง ธงชาติไทย
พ.ศ. 2310
24 กุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชสมภพ ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม พระนามเดิม ฉิม
พ.ศ. 2325
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
ทรงได้รับการสถาปนาพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
พ.ศ. 2352
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต
พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางกราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 2 แห่งพระราชวงศ์จักรี เฉลิมพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตกับพวก คิดกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ชำระความ
สงครามกับพม่าที่เมืองถลาง
พ.ศ. 2353
โปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะทูตอัญเชิญพระราชสาส์นไปถวายจักรพรรดิเกียเข้งแห่งอาณาจักรจีน
ราชทูตญวนเข้ามาถวายราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการ พร้อมทั้งทูลขอเมืองบันทายมาศคืน ซึ่งพระองค์ก็พระราชทานคืนให้
พ.ศ. 2354
โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายไปกำกับราชการตามกระทรวงต่างๆ
โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานออก "เดินสวนเดินนา"
ออกพระราชกำหนดห้ามสูบและซื้อขายฝิ่น
จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เกิดอหิวาตกโรคครั้งใหญ่
โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธี "อาพาธพินาศ"
โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทย ไประงับความวุ่นวายในกัมพูชา
อิน-จัน แฝดสยามคู่แรกของโลกถือกำเนิดขึ้น
พ.ศ. 2355
โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วผลึก (พระพุทธบุษยรัตน์) จากเมืองจำปาศักดิ์มายังกรุงเทพฯ
พ.ศ. 2356
พม่าให้ชาวกรุงเก่านำสาส์นจากเจ้าเมืองเมาะตะมะมาขอทำไมตรีกับสยาม
พระองค์เจ้าชายทับ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
พ.ศ. 2357
โปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะสมณทูตเดินทางไปศรีลังกา
โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง นครเขื่อนขันธ์ ขึ้นที่บริเวณพระประแดง เพื่อสำหรับรับข้าศึกที่มาทางทะเล
พ.ศ. 2359
โปรดเกล้าฯ ให้จัดการปรับปรุงการสอบปริยัติธรรมใหม่ กำหนดขึ้นเป็น 9 ประโยค
พ.ศ. 2360
ทรงฟื้นฟูประเพณี วันวิสาขบูชา
พ.ศ. 2361
ขยายเขตพระบรมมหาราชวังจนจรดวัดพระเชตุพน โดยสร้างถนนท้ายวังคั่น
โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการออกแบบและสร้างสวนขวาขึ้นในพระบรมมหาราชวัง
คณะสมณทูตที่พระองค์ทรงส่งไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ ประเทศลังกาเดินทางกลับ
เจ้าเมืองมาเก๊า ส่งทูตเข้ามาถวายพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการเพื่อเจริญทางพระราชไมตรี
พ.ศ. 2362
หมอจัสลิส มิชชันนารีประจำย่างกุ้ง หล่อตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2363
ฉลองวัดอรุณราชวราราม
สังคายนาบทสวดมนต์ภาษาไทยครั้งแรก ในประเทศไทย
โปรตุเกสตั้งสถานกงสุลในกรุงเทพฯ นับเป็นสถานกงสุลต่างชาติแห่งแรกของสยาม
พ.ศ. 2365
เซอร์จอห์น ครอฟอร์ด เป็นทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
พ.ศ. 2367
เสด็จสวรรคต
พงศาวลี[แก้]
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
16. เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง)
8. พระยาราชนิกูล (ทองคำ)
17.
4. สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
18.
9.
19.
2. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
20.
10.
21.
5. พระอัครชายา (หยก หรือ ดาวเรือง)
22.
11.
23.
1. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
24.
12. ท่านตาเจ้าพร
25.
6. ทอง ณ บางช้าง
26.
13. ท่านยายเจ้าชี
27.
3. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
28.
14.
29.
7. สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี
30.
15. ท่านยายเจ้าถี
31.
ดูเพิ่ม[แก้]
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ:
Rama II
ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
พระปฐมวงศ์ในพระบรมราชวงศ์จักรี
อ้างอิง[แก้]
↑ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 15.
↑ เทศนาพระราชประวัติ และพงษาวดาร กรุงเทพฯ, สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, 2546, หน้า 76
↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธย, เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๒๑๒
↑ ราชสกุลวงศ์ พระนามเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าในกรุงรัตนโกสินทร์, พระนคร, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2475
มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K3779333/K3779333.html
ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถัดไป
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท 2leftarrow.png กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
(พ.ศ. 2350 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352) 2rightarrow.png สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 2leftarrow.png Emblem of the House of Chakri.svg
พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์
(7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) 2rightarrow.png พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด พ ก
รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย
กรุงสุโขทัย
ราชวงศ์พระร่วง
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ • พ่อขุนบานเมือง • พ่อขุนรามคำแหงมหาราช • พระยาเลอไท • พระยางั่วนำถม • พระมหาธรรมราชาที่ 1 • พระมหาธรรมราชาที่ 2 • พระมหาธรรมราชาที่ 3 • พระมหาธรรมราชาที่ 4
King's Standard of Thailand.svg
กรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์อู่ทอง
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 • สมเด็จพระราเมศวร • สมเด็จพระรามราชาธิราช
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 • สมเด็จพระเจ้าทองลัน • สมเด็จพระอินทราชา • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 • สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 • พระรัษฎาธิราช • สมเด็จพระไชยราชาธิราช • พระยอดฟ้า • ขุนวรวงศาธิราช (บางตำราไม่นับ) • สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ • สมเด็จพระมหินทราธิราช
ราชวงศ์สุโขทัย
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช • สมเด็จพระนเรศวรมหาราช • สมเด็จพระเอกาทศรถ • พระศรีเสาวภาคย์ • สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม • สมเด็จพระเชษฐาธิราช • พระอาทิตยวงศ์
ราชวงศ์ปราสาททอง
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง • สมเด็จเจ้าฟ้าไชย • สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา • สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
สมเด็จพระเพทราชา • สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 • สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ • สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร • สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์
กรุงธนบุรี
ราชวงศ์ธนบุรี
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
กรุงรัตนโกสินทร์
ราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร • พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลปัจจุบัน)
พระนามที่เป็นตัวหนา คือ พระองค์ที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญานามว่า มหาราช
ราชวงศ์ที่เกี่ยวข้อง: ราชวงศ์หริภุญชัย • ราชวงศ์มังราย •ราชวงศ์ทิพย์จักร
ด พ ก
บุคคลสำคัญของโลกชาวไทยโดยองค์การยูเนสโก
พระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Flag of UNESCO.svg
พระบรมวงศานุวงศ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ • สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส • พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ • สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก • สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี • พระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท • สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า • สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
บุคคลสำคัญ
สุนทรภู่ • พระยาอนุมานราชธน • ปรีดี พนมยงค์ • หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล • กุหลาบ สายประดิษฐ์ • พุทธทาสภิกขุ • เอื้อ สุนทรสนาน • หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช • หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ • หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา
ดูเพิ่ม: สถานีย่อย • มรดกโลกในไทย
ด พ ก
พระราชโอรสและพระราชธิดาในรัชกาลที่ 1 ที่ได้ทรงกรม
พระราชโอรส
กรมหลวงอิศรสุนทร • กรมหลวงเสนานุรักษ์ • กรมหมื่นพิทักษ์เทวา • กรมหมื่นอินทรพิพิธ • กรมหลวงเทพพลภักดิ์ • กรมหมื่นศักดิพลเสพ • กรมหมื่นจิตรภักดี • กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ • กรมพระรามอิศเรศ • กรมพระปรมานุชิตชิโนรส • กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ · กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ • กรมหมื่นศรีสุเทพ • กรมหมื่นไกรสรวิชิต • กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิสุขวัฒนวิไชย • กรมหลวงรักษ์รณเรศ
พระราชธิดา
กรมหลวงศรีสุนทรเทพ • กรมหลวงเทพยวดี
เจ้าต่างกรม ใน รัชกาลที่ 1 • รัชกาลที่ 2 • รัชกาลที่ 3 • รัชกาลที่ 4 • รัชกาลที่ 5 • วังหน้าและวังหลัง
ด พ ก
การเฉลิมพระยศเจ้านาย : สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
กรมพระยา
กรมพระยาเทพสุดาวดี • กรมพระยาเดชาดิศร • กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร • กรมพระยาบำราบปรปักษ์ • กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ • กรมพระยาวชิรญาณวโรรส • กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช • กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ • กรมพระยาดำรงราชานุภาพ • กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ • กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
Emblem of the House of Chakri.svg
กรมพระ
กรมพระศรีสุดารักษ์ • กรมพระปรมานุชิตชิโนรส • กรมพระรามอิศเรศ • กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ • กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ • กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ • กรมพระจักรพรรดิพงษ์ • กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ • กรมพระสมมตอมรพันธ์ • กรมพระเทพนารีรัตน์ • กรมพระจันทบุรีนฤนาถ • กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ • กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ • กรมพระนครสวรรค์วรพินิต • กรมพระสุทธาสินีนาฏ • กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
กรมหลวง
กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ • กรมหลวงธิเบศรบดินทร์ • กรมหลวงนรินทรรณเรศร์ • กรมหลวงจักรเจษฎา • กรมหลวงอิศรสุนทร (King's Standard of Thailand.svg) • กรมหลวงเทพหริรักษ์ • กรมหลวงศรีสุนทรเทพ • กรมหลวงเสนานุรักษ์ • กรมหลวงพิทักษ์มนตรี • กรมหลวงเทพยวดี • กรมหลวงเทพพลภักดิ์ • กรมหลวงรักษ์รณเรศ • กรมหลวงเสนีบริรักษ์ • กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิสุขวัฒนวิไชย • กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ • กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ • กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา • กรมหลวงวงศาธิราชสนิท • กรมหลวงนรินทรเทวี • กรมหลวงวรศักดาพิศาล • กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ • กรมหลวงพิชิตปรีชากร • กรมหลวงวรเสรฐสุดา • กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ • กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม • กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร • กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ • กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ • กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร • กรมหลวงปราจิณกิติบดี • กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช • กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ • กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ • กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ • กรมหลวงอดิศรอุดมเดช • กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ • กรมหลวงนครราชสีมา • กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ • กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา (King's Standard of Thailand.svg) • กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ • กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ • กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี • กรมหลวงสงขลานครินทร์ • กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร • กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ • กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
กรมขุน
กรมขุนสุนทรภูเบศร์ • กรมขุนกษัตรานุชิต • กรมขุนอิศรานุรักษ์ • กรมขุนศรีสุนทร • กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ • กรมขุนกัลยาสุนทร • กรมขุนสถิตย์สถาพร • กรมขุนนรานุชิต • กรมขุนธิเบศวร์บวร • กรมขุนพินิตประชานาถ (King's Standard of Thailand.svg) • กรมขุนวรจักรธรานุภาพ • กรมขุนราชสีหวิกรม • กรมขุนรามินทรสุดา • กรมขุนอนัคฆนารี • กรมขุนเทพนารี • กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล • กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ • กรมขุนขัตติยกัลยา • กรมขุนเทพทวาราวดี (King's Standard of Thailand.svg) • กรมขุนอรรควรราชกัลยา • กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ • กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา • กรมขุนสุพรรณภาควดี • กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย • กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ • กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี • กรมขุนสิริธัชสังกาศ • กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ • กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา • กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
กรมหมื่น
กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ • กรมหมื่นพิทักษ์เทวา • กรมหมื่นศักดิพลเสพ • กรมหมื่นนราเทเวศร์ • กรมหมื่นนเรศร์โยธี • กรมหมื่นเสนีเทพ • กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ (King's Standard of Thailand.svg) • กรมหมื่นอินทรพิพิธ • กรมหมื่นจิตรภักดี • กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ • กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ • กรมหมื่นสุนทรธิบดี • กรมหมื่นนรินทรเทพ • กรมหมื่นศรีสุเทพ • กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ • กรมหมื่นเสพสุนทร • กรมหมื่นอมรมนตรี • กรมหมื่นนเรนทร์บริรักษ์ • กรมหมื่นไกรสรวิชิต • กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ • กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ • กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ • กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ • กรมหมื่นถาวรวรยศ • กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา • กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ • กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ • กรมหมื่นภูมินทรภักดี • กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส • กรมหมื่นมนตรีรักษา • กรมหมื่นเทวานุรักษ์ • กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร • กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ • กรมหมื่นอุดมรัตนราษี กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย • กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ • กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช • กรมหมื่นอมเรศรัศมี • กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ • กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ • กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ • กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ • กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ • กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ • กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ • กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ • กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร • กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย • กรมหมื่นปราบปรปักษ์ • กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ • กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา • กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ • กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป • กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร • กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม • กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ • กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ • กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี • กรมหมื่นกวีสุพจน์ปรีชา • กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ • กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส • กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ • กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช • กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย • กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร • กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต • กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ • กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ • กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
King's Standard of Thailand.svg = สืบราชสมบัติ • ตัวเอียง = ฝ่ายใน
สมัยกรุงศรีอยุธยา • สมัยกรุงธนบุรี • สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ด พ ก
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
กรุงศรีอยุธยา
วังหน้า
พระราเมศวร • พระเชษฐา • พระอาทิตยวงศ์ • พระไชยราชา • พระเธียรราชา • มหาอุปราช (จัน) (บางตำราไม่นับ) • พระราเมศวร • พระมหินทร์ • สมเด็จพระนเรศวร • สมเด็จพระเอกาทศรถ • เจ้าฟ้าสุทัศน์ • จหมื่นศรีสรรักษ์ • สมเด็จพระนารายณ์มหาราช • หลวงสรศักดิ์ • เจ้าฟ้าเพชร • เจ้าฟ้าพร • เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ • เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต
วังหลัง
นายจบคชประสิทธิ์ • เจ้าฟ้าพร
ที่ประทับ
พระราชวังจันทรเกษม (วังหน้า)
กรุงธนบุรี
วังหน้า
สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์
กรุงรัตนโกสินทร์
วังหน้า
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร • สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ • สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ • พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว • กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
วังหลัง
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
ที่ประทับ
พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) • พระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง)
ด พ ก
พระราชโอรสในพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
รัชกาลที่ 1
เจ้าฟ้าฉิม* เจ้าฟ้าจุ้ย** พระองค์เจ้ากล้าย พระองค์เจ้าทับทิม พระองค์เจ้าอภัยทัต พระองค์เจ้าอรุโณทัย** พระองค์เจ้าทับ พระองค์เจ้าคันธรส พระองค์เจ้าสุริยา พระองค์เจ้าวาสุกรี พระองค์เจ้าฉัตร พระองค์เจ้าสุริยวงศ์ พระองค์เจ้าไกรสรX พระองค์เจ้าดารากร พระองค์เจ้าดวงจักร พระองค์เจ้าสุทัศน์
Emblem of the House of Chakri.svg
รัชกาลที่ 2
เจ้าฟ้ามงกุฎ* เจ้าฟ้าจุฑามณี** เจ้าฟ้าอาภรณ์ เจ้าฟ้ามหามาลา เจ้าฟ้าปิ๋ว พระองค์เจ้าทับ* พระองค์เจ้าหนูดำ พระองค์เจ้ากล้วยไม้ พระองค์เจ้าเนียม พระองค์เจ้าโคมเพชร พระองค์เจ้าพนมวัน พระองค์เจ้ากุญชร พระองค์เจ้าทินกร พระองค์เจ้ากุสุมา พระองค์เจ้ามั่ง พระองค์เจ้าเนตร พระองค์เจ้าเรณู พระองค์เจ้าอำไพ พระองค์เจ้าอัมพร พระองค์เจ้าขัตติยวงศ์ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ พระองค์เจ้าชุมแสง พระองค์เจ้ากลาง พระองค์เจ้าโต พระองค์เจ้านวม พระองค์เจ้าขัตติยา พระองค์เจ้ามรกฎ พระองค์เจ้านิลรัตน พระองค์เจ้าเน่า พระองค์เจ้าอรุณวงษ์ พระองค์เจ้ากปิตถา พระองค์เจ้าปราโมช พระองค์เจ้าเกยูร
รัชกาลที่ 3
พระองค์เจ้ากระวีวงศ์ พระองค์เจ้าคเนจร พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระองค์เจ้าดำ พระองค์เจ้าโกเมน พระองค์เจ้าศิริวงศ์ พระองค์เจ้างอนรถ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ พระองค์เจ้าอุไร พระองค์เจ้าชุมสาย พระองค์เจ้าเปียก พระองค์เจ้าอรรณพ พระองค์เจ้าลำยอง พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ พระองค์เจ้าอมฤตย์ พระองค์เจ้าสุบรรณ พระองค์เจ้าสิงหรา พระองค์เจ้าชมพูนุท พระองค์เจ้าจินดา
รัชกาลที่ 4
เจ้าฟ้าโสมนัส เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์* เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ พระองค์เจ้านพวงศ์ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ พระองค์เจ้าทักษิณาวัฏ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช พระองค์เจ้าศุขสวัสดี พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค พระองค์เจ้าเสวตรวรลาภ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ พระองค์เจ้าไชยานุชิต พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระองค์เจ้าเจริญรุ่งราษี พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ พระองค์เจ้าวรวรรณากร พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต พระองค์เจ้าไชยันตมงคล
รัชกาลที่ 5
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ^* เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์* เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ^ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ พระองค์เจ้ายุคลฑิฆัมพร พระองค์เจ้าอิศรวงศ์วรราชกุมาร พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ พระองค์เจ้าวุฒิสมัยวโรดม พระองค์เจ้าเขจรจิรประดิษฐ์ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช
รัชกาลที่ 6
ไม่มีพระโอรส
รัชกาลที่ 7
ไม่มีพระโอรสธิดา
รัชกาลที่ 8
ไม่มีพระโอรสธิดา
รัชกาลที่ 9
เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น