พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Thomson, King Mongkut of Siam (crop).jpg
พระบรมนามาภิไธย มงกุฎ
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์สยาม
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์ 2 เมษายน พ.ศ. 2394
รัชกาล 17 ปี
รัชกาลก่อน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดประจำรัชกาล วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347
พระราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร ไทย
สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411
พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร ไทย
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระราชมารดา สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระอัครมเหสี สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
(พ.ศ. 2394-2395)
พระมเหสี พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์
(พ.ศ. 2396-2404)
พระราชบุตร 82 พระองค์
ลายพระอภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานในพระราชนิเวศน์เดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวราราม[1] เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติในวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ยังเป็นโทศก พ.ศ. 2394 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 16 ปี 6 เดือน และมีพระราชโอรส - พระราชธิดารวมทั้งสิ้น 82 พระองค์ พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 รวมพระชนมพรรษา 64 พรรษา วัดประจำรัชกาล คือ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
เนื้อหา
1 พระราชประวัติ
1.1 ขณะทรงพระเยาว์
1.2 ผนวช
1.3 ครองราชย์
1.4 สวรรคต
2 พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา
3 พระราชกรณียกิจ
3.1 ด้านวรรณคดีศาสนา
3.2 ด้านพระพุทธศาสนา
3.3 ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
3.4 ด้านวิทยาศาสตร์
4 เหตุการณ์สำคัญในสมัย
5 พระอิสริยยศและพระเกียรติยศ
5.1 พระอิสริยยศ
5.2 พระราชลัญจกรประจำพระองค์
5.3 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
5.3.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
5.3.2 เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
6 พงศาวลี
7 อ้างอิง
7.1 หนังสือ
8 ดูเพิ่ม
พระราชประวัติ[แก้]
ขณะทรงพระเยาว์[แก้]
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166 ซึ่งตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ณ พระราชวังเดิม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดา เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร[2] โดยพระนามก่อนการมีพระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระนามว่า "ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่"
พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชมารดา รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระองค์จึงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่มีพระชนม์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[3]
เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จขึ้นครองสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว พระองค์ได้เสด็จเข้ามาอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่ง พ.ศ. 2355 พระองค์มีพระชนมายุได้ 9 พรรษา จึงได้จัดการพระราชพิธีลงสรงเพื่อเฉลิมพระนามเจ้าฟ้าอย่างเป็นทางการ พระราชพิธีในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชดำริว่า พระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าได้ทำเป็นอย่างมีแบบแผนอยู่แล้ว แต่การพระราชพิธีลงสรงตั้งพระนามเจ้าฟ้าครั้งกรุงศรีอยุธยายังหาได้ทำเป็นแบบอย่างลงไม่[4] รวมทั้ง ผู้ใหญ่ที่เคยเห็นพระราชพิธีดังกล่าวก็แก่ชราเกือบจะหมดตัวแล้ว เกรงว่าแบบแผนพระราชพิธีจะสูญไป พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีและเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด) เป็นผู้บัญชาการพระราชพิธีลงสรงในครั้งนี้เพื่อเป็นแบบแผนของพระราชพิธีลงสรงสำหรับครั้งต่อไป พระราชพิธีในครั้งนี้จึงนับเป็นพระราชพิธีลงสรงครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ได้รับการเฉลิมพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติวงศ์ พงอิศวรกษัตริย์ ขัติยราชกุมาร" ในปี พ.ศ. 2359 พระองค์มีพระชนมายุครบ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถมีพระราชดำรัสจัดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ตามแบบอย่างพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าที่มีมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยได้สร้างเขาไกรลาสจำลองไว้บริเวณหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
พระองค์ทรงศึกษาอักษรสยามในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม ตั้งแต่เมื่อครั้งยังประทับ ณ พระราชวังเดิม นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาวิชาคชกรรมกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช รวมทั้ง ทรงฝึกการใช้อาวุธต่าง ๆ ด้วย[5]
ผนวช[แก้]
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงศีล
เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 14 พรรษา จึงทรงออกผนวชเป็นสามเณร โดยมีการสมโภชที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย แล้วแห่ไปผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์และสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็นพระอาจารย์ หลังจากนั้นได้เสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ผนวชจนออกพรรษาแล้วจึงทรงลาผนวช รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 7 เดือน เมื่อพระองค์ทรงพระเจริญวัยขึ้นแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้พระองค์เสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม
เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษา จึงจะผนวชเป็นพระภิกษุ แต่ในระหว่างนั้นช้างสำคัญของบ้านเมือง ได้แก่ พระยาเศวตไอยราและพระยาเศวตคชลักษณ์เกิดล้มลง รวมทั้งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี พระขนิษฐาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเพียงพระองค์เดียวที่ยังมีพระชนม์เกิดสิ้นพระชนม์ ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่สำราญพระราชหฤทัย จึงไม่ได้จัดพิธีผนวชอย่างใหญ่โต โปรดให้มีเพียงพิธีอย่างย่อเท่านั้น โดยให้ผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระองค์ได้รับพระนามฉายาว่า "วชิรญาโณ"[6] หรือ "วชิรญาณภิกขุ"[7] แล้วเสด็จไปประทับแรมที่วัดมหาธาตุ 3 วัน หลังจากนั้น จึงเสด็จไปจำพรรษาที่วัดราชาธิวาส ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเคยประทับอยู่เมื่อผนวช
ในขณะที่ผนวชอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะดำรงสมณเพศต่อไป ในระหว่างที่ผนวชอยู่นั้นได้เสด็จออกธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ทำให้ทรงคุ้นเคยกับสภาพความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏร์อย่างแท้จริง พระองค์ทรงพระราชอุตสาหะวิริยะเรียนภาษาอังกฤษจนทรงเขียนได้ ตรัสได้ ทรงเป็นนักปราชญ์รอบรู้ ทำให้พระองค์ทรงมีความรอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ของโลกตะวันตกเป็นอย่างดี[1] ผนวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2367 จนถึงลาผนวช เป็นเวลารวมที่บวชเป็นภิกษุทั้งสิ้น 27 พรรษา (ขณะนั้นพระชนมายุ 48 พรรษา) หมายเหตุ; เวลาที่ผนวชเป็นสามเณร 7 เดือน
คณะธรรมยุติกนิกาย หลังจากการลาผนวชของพระวชิรญาณเถระยังคงเจริญรุ่งเรืองต่อไป เพราะได้พระมหากษัตริย์เป็นผู้อุปถัมภ์ และมีผู้นำที่เข้มแข็งคือ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นผู้ครองบังคับบัญชาคณะธรรมยุติกนิกาย
ครองราชย์[แก้]
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
เมืองไทยมีพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์ โดย กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แต่พระองค์ตรัสว่า ถ้าจะถวายพระราชสมบัติแก่พระองค์จะต้องอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่มีพระชะตาแรง ต้องได้เป็นพระมหากษัตริย์
ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น พระองค์ได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า
"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "
พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมีพระราชพิธีบวรราชาภิเษกและทรงรับพระบวรราชโองการ ให้พระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนในฝ่ายสมณศักดิ์นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส โดยมหาสมณุตมาภิเษกขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช เป็นต้น
สวรรคต[แก้]
พระมหากษัตริย์แห่ง
ราชวงศ์จักรี
Buddha Yodfa Chulaloke portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
Buddha Loetla Nabhalai portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
Nangklao portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
Rama4 portrait (cropped).jpg พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Chulalongkorn.jpg พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Vajiravudh.jpg พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
Prajadhipok portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Ananda Mahidol portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
Bhumibol Adulyadej portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ด • พ • ก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อ พ.ศ. 2411 พระองค์ทรงคำนวณว่าจะสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ในประเทศสยาม ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระองค์จึงโปรดให้ตั้งพลับพลาเพื่อเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่พระองค์ทรงคำนวณก็เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงดังที่ทรงได้คำนวณไว้ พระองค์เสด็จประทับอยู่ที่หว้ากอเป็นระยะเวลาประมาณ 9 วัน จึงเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร ภายหลังการเสด็จกลับมายังพระนคร พระองค์เริ่มมีพระอาการประชวรจับไข้และทรงทราบว่าพระอาการประชวรของพระองค์ในครั้งนี้คงจะไม่หาย วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2411 พระองค์มีพระบรมราชโองการให้หา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่มีพระชนมายุมากกว่าพระองค์อื่น ๆ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ในราชการ และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อัครเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม หัวหน้าข้าราชการทั้งปวง เข้าเฝ้าพร้อมกันที่พระแท่นบรรทม โดยพระองค์มีพระบรมราชโองการมอบพระราชกิจในการดูแลพระนครแก่ทั้ง 3 ท่าน
หลังจากนั้น ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสั่งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และเจ้าพระยาภูธราภัยที่สมุหนายก เข้าเฝ้าและมีพระราชดำรัสว่า[8]
"ท่านทั้ง 3 กับพระองค์ได้ทำนุบำรุงประคับประคองกันมา บัดนี้กาละจะถึงพระองค์แล้ว ขอลาท่านทั้งหลายในวันนี้ ขอฝากพระราชโอรสธิดาอย่าให้มีภัยอันตราย หรือเป็นที่กีดขวางในการแผ่นดิน ถ้ามีผิดสิ่งไรเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ให้เป็นแต่โทษเนรเทศ ขอให้ท่านทั้ง 3 จงเป็นที่พึ่งแก่พระราชโอรสธิดาต่อไปด้วยเถิด"
พระองค์ตรัสขอให้ผู้ใหญ่ทั้ง 3 ท่านได้ช่วยกันดูแลบ้านเมืองต่อไป ให้ทูลพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่เอาธุระรับฎีกาของราษฎรผู้มีทุกข์ร้อนดังที่พระองค์เคยปฏิบัติมา โดยไม่ทรงเอ่ยว่าจะให้ผู้ใดขึ้นครองราชย์แทนพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์รับสั่งว่าเมื่อพระองค์ผนวชอยู่นั้น ทรงออกอุทานวาจาว่าวันใดเป็นวันพระราชสมภพก็อยากสวรรคตในวันนั้น โดยพระองค์พระราชสมภพในวันเพ็ญเดือน 11 ซึ่งเป็นวันมหาปวารณา เมื่อพระองค์จะสวรรคตก็ขอให้สวรรคตท่ามกลางสงฆ์ขณะที่พระสงฆ์กระทำวินัยกรรมมหาปวารณา[9] ในเวลา 20.06 นาฬิกา พระองค์ทรงภาวนาอรหังสัมมาสัมพุทโธแล้วผ่อนอัสสาสะปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า-ออก) เป็นครั้งคราว จนกระทั่ง เวลา 21.05 นาฬิกา เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ ภายในพระบรมมหาราชวัง สิริพระชนมพรรษา 64 พรรษา
พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา[แก้]
พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม
ดูบทความหลักที่: รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 4
.
พระราชโอรสและพระราชธิดา
ดูบทความหลักที่: พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชกรณียกิจ[แก้]
ด้านวรรณคดีศาสนา[แก้]
พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี พระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่เป็นประเภทร้อยแก้ว บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่
ชุมนุมพระบรมราโชบาย 4 หมวด คือ หมวดวรรณคดี โบราณคดี ธรรมคดี และตำรา
ตำนานเรื่อง พระแก้วมรกต เรื่องปฐมวงศ์
ทรงริเริ่มให้มีการค้นคว้าศิลาจารึกในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก คือ จารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงและจารึกหลักที่ 4 ของพระยาลิไทย
ด้านพระพุทธศาสนา[แก้]
พระองค์ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง โดยทรงตั้งธรรมยุตติกาวงศ์ขึ้น เป็นนิกายใหม่ในพระพุทธศาสนา ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยและระเบียบแบบแผน
ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ[แก้]
ราชทูตสยามที่ราชสำนักฝรั่งเศส, 27 มิถุนายน พ.ศ. 2404
ด้วยเหตุที่ทรงสนพระทัยในวิทยาการตะวันตกมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ จึงทรงคุ้นเคยกับชาวตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษเป็นอย่างมาก ทั้งยังเกี่ยวข้องกับเสนาบดีสกุลบุนนาคเช่นพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์นั้นก็เป็นผู้สนิทสนมและนิยมอังกฤษ เช่นนี้ในรัชสมัยของพระองค์จึงเปิดความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง มีการทำสัญญากับต่างประเทศถึง 10 ประเทศ ทรงยึดนโยบาย "ผ่อนสั้น ผ่อนยาว" มาใช้กับประเทศมหาอำนาจเป็นพระองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์ อันทำให้ไทยสามารถดำรงเอกราชอยู่ได้จนทุกวันนี้ พระองค์ได้ส่งคณะทูตไทยโดยมีพระยามนตรีสุริยวงศ์เป็นราชทูต เจ้าหมื่นสรรเพ็ชภักดีเป็นอุปทูต หมื่นมณเฑียรพิทักษ์เป็นตรีทูต นำพระราชสาส์นไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษนับเป็นความคิดริเริ่มให้มีการเดินทางออกนอกประเทศได้ เนื่องจากแต่เดิมกฎหมายห้ามมิให้ เจ้านาย พระราชวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่เดินทางออกจากพระนคร เว้นเสียแต่ไปในการสงครามกับกองทัพ
พระองค์โปรดเกล้าให้ชาวต่างประเทศรับราชการเป็นกงสุลไทย เช่น เซอร์ จอห์น เบาริง อัครราชทูตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ เข้ามาทำสนธิสัญญากับประเทศไทยเป็นชาติแรก เมื่อ พ.ศ. 2398 ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ" เป็นกงสุลไทยประจำกรุงลอนดอน
ด้านวิทยาศาสตร์[แก้]
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐาน ณ อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักดาราศาสตร์ไทย ทรงการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ล่วงหน้า 2 ปี[10] และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมเชิญทูตฝรั่งเศสและสิงคโปร์ทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้น นอกจากนี้ พระปรีชาสามารถของพระองค์ในด้านวิทยาศาสตร์นั้น ยังทำให้พระองค์ได้รับการยกย่องเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสัตววิทยาสมาคมแห่งสหราชาอาณาจักรอีกด้วย[11]
14 เมษายน 2525 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประกาศยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" และอนุมัติให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
เหตุการณ์สำคัญในสมัย[แก้]
พ.ศ. 2394 โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาสำหรับพระราชวงศ์ เสนาบดี ทหารและพลเรือนทั้งหลายต่างดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาทั่วทุกคน พระองค์มิได้มีพระราชประสงค์ให้ข้าราชบริพารซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระองค์ฝ่ายเดียว แต่ทรงพระราชดำริว่าจะต้องทรงให้คำมั่นสัญญาต่อประชาชนของพระองค์ด้วยพระองค์จึงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่เสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
พ.ศ. 2395 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
โปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า
ร้อยเอกอิมเปญ์ เข้ามาฝึกทหารแบบยุโรป
คณะมิชชันนารี สอนภาษาอังกฤษ ในพระบรมมหาราชวัง
ร้อยเอกโทมัส ยอร์ช น็อกซ์ เข้ามาเป็นครูฝึกทหารวังหน้า
คณะมิชชันนารีอเมริกา เข้ามาสอนภาษา
กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงตุง
พ.ศ. 2396 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ “หมาย” แทนเงินตรา
ไทยรบพม่าที่เมืองเชียงตุง ( เป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่าง ไทย - พม่า )
พ.ศ. 2398 เซอร์ จอห์น เบาริง ขอเข้ามาเจริญพระราชไมตรี ทำสนธิสัญญาใหม่กับอังกฤษ
พ.ศ. 2399 ทำสนธิสัญญาการทูตกับอเมริกาและฝรั่งเศส
พ.ศ. 2400 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
โปรดเกล้าฯ ให้ส่งทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเป็นบำเหน็จความดีความชอบ
เริ่มสร้างกำปั่นเรือกลไฟ
พ.ศ. 2401 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในวัง เรียกว่า "โรงราชกิจจานุเบกษา" เพื่อออกราชกิจจานุเบกษาเสนอข่าวราชการเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2402 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์
พ.ศ. 2403 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวัง เพื่อผลิตเหรียญเงินราคาต่างๆ เพื่อใช้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนแทนเงินอย่างเก่าคือพดด้วง พระราชทานนามว่า "โรงกษาปณ์สิทธิการ"[12] นับเป็นโรงกษาปณ์แห่งแรกในประเทศไทย
พ.ศ. 2404 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
โปรดเกล้าฯ ให้ส่งทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส
แรกมีตำรวจพระนครบาล
โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนและขุดคลองให้เป็นทางสัญจรอย่างใหม่ สำหรับชาวไทยและชาวต่างประเทศเหมือนกับประเทศที่เจริญแล้วทางยุโรป เช่น การสร้างถนนเจริญกรุงเป็นสายแรก ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร และ ถนนสีลม ส่วนคลองได้แก่ คลองผดุงกรุงเกษม คลองภาษีเจริญ คลองหัวลำโพง คลองมหาสวัสดิ์ และคลองดำเนินสะดวก เป็นต้น
พ.ศ. 2405 นางแอนนา ลีโอโนเวนส์ เข้ามารับราชการเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในพระราชสำนัก
พ.ศ. 2407 สร้างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
พ.ศ. 2411 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมเรือกลไฟ
ทรงคำนวณว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
เสด็จสวรรคต
พระอิสริยยศและพระเกียรติยศ[แก้]
พระอิสริยยศ[แก้]
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติวงศ์ พงอิศวรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามกุฎสมมติวงศ์ พระวชิรญาณมหาเถร[13]
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชลัญจกรประจำพระองค์[แก้]
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 4
พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว ได้แก่ "พระมหาพิชัยมงกุฎ" หนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งการสร้างพระลัญจกรประจำพระองค์นั้น จะใช้แนวคิดมาจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "มงกุฎ" นั่นเอง โดยพระราชลัญจกรจะเป็นตรางา ลักษณะกลมรี ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง 2 ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า 2 ชั้น ทางด้านซ้ายวางสมุดตำรา ซึ่งแสดงถึงทรงมีความเชี่ยวชาญทางด้านอักษรศาสตร์และดาราศาสตร์ ส่วนทางด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์ เพชร ซึ่งมาจากพระฉายาเมื่อพระองค์ผนวชว่า "วชิรญาณ"
พระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ยังได้ใช้เป็นแม่แบบของพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
Order of the Nine Gems.JPG เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
ดาราไอยราพต (เครื่องต้น)
ดาราไอยราพต (องค์รอง)
เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส : Legion Honneur GC ribbon.svg เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นประถมาภรณ์ (พ.ศ. 2406)
พงศาวลี[แก้]
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
16. (= 28.) พระยาราชนิกูล (ทองคำ)
8. (= 14.) สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
17.
4. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
18.
9. (= 15.) พระอัครชายา (ดาวเรือง)
19.
2. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
20. พร
10. ทอง
21. ชี
5. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
22.
11. สมเด็จพระรูปศิริโสภาค มหานาคนารี
23. ถี
1. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
24.
12. ชาวฮกเกี้ยนแซ่ตันไม่ปรากฏนาม
25.
6. เจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน
26. จอมเฒ่า
13. น้องสาวของท่านผู้หญิงน้อย ภรรยาของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่)
27.
3. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
28. (= 16.) พระยาราชนิกูล (ทองคำ)
14. (= 8.) สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
29.
7. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
30.
15. (= 9.) พระอัครชายา (ดาวเรือง)
31.
อ้างอิง[แก้]
↑ 1.0 1.1 อ. วิโรจน์ ไตรเพียร, 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี, สำนักพิมพ์ คลังศึกษา,2543,หน้า 38-50
↑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๔
↑ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, หน้า ๑๕
↑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๘
↑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๙
↑ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, หน้า ๑๗
↑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากเวปไซต์รากฐานไทย ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศ
↑ จดหมายเหตุ ปลายรัชชกาลที่ 4 และต้นรัชชกาลที่ 5, พระนคร, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2478
↑ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, หน้า ๑๖๗
↑ ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย.
↑ พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย.
↑ วิวัฒนาการระบบการชำระเงินของไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย
↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 28.
↑ สนเทศน่ารู้ : พระราชลัญจกรประจำรัชกาล, สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
หนังสือ[แก้]
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, เทศนาพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ๒๕๐๕, ๑๖๐ หน้า
แน่งน้อย ศักดิ์ศรี,หม่อมราชวงศ์, พระอภิเนาว์นิเวศน์ พระราชนิเวศน์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, สำนักพิมพ์มติชน, 2549 ISBN 974-323-641-4
เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากบันทึกหลักฐานและเหตุการณ์สมัยกรุงเทพ, มานวสาร, ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ ๒๕๓๔ ถึง ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๓ มีนาคม พ.ศ ๒๕๓๕
ดูเพิ่ม[แก้]
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
พระปฐมวงศ์ในพระบรมราชวงศ์จักรี
ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฏาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 2leftarrow.png Emblem of the House of Chakri.svg
พระมหากษัตริย์สยาม
(2 เมษายน พ.ศ. 2394 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) 2rightarrow.png พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไม่มี 2leftarrow.png ธรรมยุตินิกาย.gif
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
(พ.ศ. 2379–พ.ศ. 2394) 2rightarrow.png สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ด พ ก
รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย
กรุงสุโขทัย
ราชวงศ์พระร่วง
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ • พ่อขุนบานเมือง • พ่อขุนรามคำแหงมหาราช • พระยาเลอไท • พระยางั่วนำถม • พระมหาธรรมราชาที่ 1 • พระมหาธรรมราชาที่ 2 • พระมหาธรรมราชาที่ 3 • พระมหาธรรมราชาที่ 4
King's Standard of Thailand.svg
กรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์อู่ทอง
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 • สมเด็จพระราเมศวร • สมเด็จพระรามราชาธิราช
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 • สมเด็จพระเจ้าทองลัน • สมเด็จพระอินทราชา • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 • สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 • พระรัษฎาธิราช • สมเด็จพระไชยราชาธิราช • พระยอดฟ้า • ขุนวรวงศาธิราช (บางตำราไม่นับ) • สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ • สมเด็จพระมหินทราธิราช
ราชวงศ์สุโขทัย
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช • สมเด็จพระนเรศวรมหาราช • สมเด็จพระเอกาทศรถ • พระศรีเสาวภาคย์ • สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม • สมเด็จพระเชษฐาธิราช • พระอาทิตยวงศ์
ราชวงศ์ปราสาททอง
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง • สมเด็จเจ้าฟ้าไชย • สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา • สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
สมเด็จพระเพทราชา • สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 • สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ • สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร • สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์
กรุงธนบุรี
ราชวงศ์ธนบุรี
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
กรุงรัตนโกสินทร์
ราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร • พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลปัจจุบัน)
พระนามที่เป็นตัวหนา คือ พระองค์ที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญานามว่า มหาราช
ราชวงศ์ที่เกี่ยวข้อง: ราชวงศ์หริภุญชัย • ราชวงศ์มังราย •ราชวงศ์ทิพย์จักร
ด พ ก
บุคคลสำคัญของโลกชาวไทยโดยองค์การยูเนสโก
พระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Flag of UNESCO.svg
พระบรมวงศานุวงศ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ • สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส • พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ • สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก • สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี • พระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท • สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า • สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
บุคคลสำคัญ
สุนทรภู่ • พระยาอนุมานราชธน • ปรีดี พนมยงค์ • หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล • กุหลาบ สายประดิษฐ์ • พุทธทาสภิกขุ • เอื้อ สุนทรสนาน • หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช • หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ • หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา
ดูเพิ่ม: สถานีย่อย • มรดกโลกในไทย
ด พ ก
พระราชโอรสในพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
รัชกาลที่ 1
เจ้าฟ้าฉิม* เจ้าฟ้าจุ้ย** พระองค์เจ้ากล้าย พระองค์เจ้าทับทิม พระองค์เจ้าอภัยทัต พระองค์เจ้าอรุโณทัย** พระองค์เจ้าทับ พระองค์เจ้าคันธรส พระองค์เจ้าสุริยา พระองค์เจ้าวาสุกรี พระองค์เจ้าฉัตร พระองค์เจ้าสุริยวงศ์ พระองค์เจ้าไกรสรX พระองค์เจ้าดารากร พระองค์เจ้าดวงจักร พระองค์เจ้าสุทัศน์
Emblem of the House of Chakri.svg
รัชกาลที่ 2
เจ้าฟ้ามงกุฎ* เจ้าฟ้าจุฑามณี** เจ้าฟ้าอาภรณ์ เจ้าฟ้ามหามาลา เจ้าฟ้าปิ๋ว พระองค์เจ้าทับ* พระองค์เจ้าหนูดำ พระองค์เจ้ากล้วยไม้ พระองค์เจ้าเนียม พระองค์เจ้าโคมเพชร พระองค์เจ้าพนมวัน พระองค์เจ้ากุญชร พระองค์เจ้าทินกร พระองค์เจ้ากุสุมา พระองค์เจ้ามั่ง พระองค์เจ้าเนตร พระองค์เจ้าเรณู พระองค์เจ้าอำไพ พระองค์เจ้าอัมพร พระองค์เจ้าขัตติยวงศ์ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ พระองค์เจ้าชุมแสง พระองค์เจ้ากลาง พระองค์เจ้าโต พระองค์เจ้านวม พระองค์เจ้าขัตติยา พระองค์เจ้ามรกฎ พระองค์เจ้านิลรัตน พระองค์เจ้าเน่า พระองค์เจ้าอรุณวงษ์ พระองค์เจ้ากปิตถา พระองค์เจ้าปราโมช พระองค์เจ้าเกยูร
รัชกาลที่ 3
พระองค์เจ้ากระวีวงศ์ พระองค์เจ้าคเนจร พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระองค์เจ้าดำ พระองค์เจ้าโกเมน พระองค์เจ้าศิริวงศ์ พระองค์เจ้างอนรถ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ พระองค์เจ้าอุไร พระองค์เจ้าชุมสาย พระองค์เจ้าเปียก พระองค์เจ้าอรรณพ พระองค์เจ้าลำยอง พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ พระองค์เจ้าอมฤตย์ พระองค์เจ้าสุบรรณ พระองค์เจ้าสิงหรา พระองค์เจ้าชมพูนุท พระองค์เจ้าจินดา
รัชกาลที่ 4
เจ้าฟ้าโสมนัส เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์* เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ พระองค์เจ้านพวงศ์ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ พระองค์เจ้าทักษิณาวัฏ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช พระองค์เจ้าศุขสวัสดี พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค พระองค์เจ้าเสวตรวรลาภ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ พระองค์เจ้าไชยานุชิต พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระองค์เจ้าเจริญรุ่งราษี พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ พระองค์เจ้าวรวรรณากร พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต พระองค์เจ้าไชยันตมงคล
รัชกาลที่ 5
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ^* เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์* เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ^ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ พระองค์เจ้ายุคลฑิฆัมพร พระองค์เจ้าอิศรวงศ์วรราชกุมาร พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ พระองค์เจ้าวุฒิสมัยวโรดม พระองค์เจ้าเขจรจิรประดิษฐ์ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช
รัชกาลที่ 6
ไม่มีพระโอรส
รัชกาลที่ 7
ไม่มีพระโอรสธิดา
รัชกาลที่ 8
ไม่มีพระโอรสธิดา
รัชกาลที่ 9
เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น