พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
พระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาจุฬาลงกรณ์
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
KING-CHULALONG-KORN.jpg
พระบรมนามาภิไธย จุฬาลงกรณ์
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งสยาม
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411
บรมราชาภิเษก 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416
รัชกาล 42 ปี 22 วัน
รัชกาลก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดประจำรัชกาล วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ 20 กันยายน พ.ศ. 2396
สวรรคต 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 (57 ปี)
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชมารดา สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
พระบรมราชินี พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี
พระอัครมเหสี พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
พระนางเจ้าสว่างวัฒนา
พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี
พระราชบุตร 77 พระองค์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี 22 วัน [1] เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา
ผู้คนมักออกพระนามว่า "ปิยมหาราช" แปลว่า มหาราชผู้ทรงเป็นที่รัก และว่า "พระพุทธเจ้าหลวง"
เนื้อหา
1 พระราชประวัติ
1.1 การศึกษา
1.2 บรมราชาภิเษกครั้งที่ 1
1.3 ผนวชและบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2
1.4 สวรรคต
2 พระราชกรณียกิจ
2.1 การปฏิรูปการปกครอง
2.2 การเสด็จประพาสต้นและประพาสหัวเมือง
3 การเสียดินแดน
3.1 การเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส
3.2 การเสียดินแดนให้อังกฤษ
4 พระราชนิพนธ์
5 พระอิสริยยศและพระเกียรติยศ
5.1 พระอิสริยยศ
5.2 พระราชลัญจกรประจำพระองค์
5.3 พระพุทธรูปประจำพระองค์
5.4 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
5.4.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
5.4.2 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
6 พระราชสันตติวงศ์
7 พงศาวลี
8 อ้างอิง
9 ดูเพิ่ม
10 แหล่งข้อมูลอื่น
พระราชประวัติ[แก้]
ทูลกระหม่อมจุฬาลงกรณ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ในรัชกาลที่ 6 ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเจ้านายฝ่ายในตามราชประเพณีนิยมเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร ซึ่งคำว่า "จุฬาลงกรณ์" นั้นแปลว่า เครื่องประดับผม อันหมายถึง "พระเกี้ยว" ที่มีรูปเป็นส่วนยอดของพระมหามงกุฎหรือยอดชฎา
พระองค์มีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าจันทรมณฑล, สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี และ สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
การศึกษา[แก้]
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักพระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา ทรงได้การศึกษาภาษาเขมรจากหลวงราชาภิรมย์ ทรงได้การศึกษาการยิงปืนไฟจากพระยาอภัยเพลิงศร วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2404 สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมที่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ [2] และเมื่อ พ.ศ. 2409 พระองค์ผนวชตามราชประเพณี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังจากการผนวช พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อปี พ.ศ. 2410 โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า [3]
บรมราชาภิเษกครั้งที่ 1[แก้]
พระมหากษัตริย์แห่ง
ราชวงศ์จักรี
Buddha Yodfa Chulaloke portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
Buddha Loetla Nabhalai portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
Nangklao portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
Rama4 portrait (cropped).jpg พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Chulalongkorn.jpg พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Vajiravudh.jpg พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
Prajadhipok portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Ananda Mahidol portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
Bhumibol Adulyadej portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ด • พ • ก
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา โดยก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคตนั้น ได้มีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า "พระราชดำริทรงเห็นว่า เจ้านายซึ่งจะสืบพระราชวงศ์ต่อไปภายหน้า พระเจ้าน้องยาเธอก็ได้ พระเจ้าลูกยาเธอก็ได้ พระเจ้าหลานเธอก็ได้ ให้ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ปรึกษากันจงพร้อม สุดแล้วแต่จะเห็นดีพร้อมกันเถิด ท่านผู้ใดมีปรีชาควรจะรักษาแผ่นดินได้ก็ให้เลือกดูตามสมควร" ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรคต จึงได้มีการประชุมปรึกษาเรื่องการถวายสิริราชสมบัติแด่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ซึ่งในที่ประชุมนั้นประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ได้เสนอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งที่ประชุมนั้นมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ดังนั้น พระองค์จึงได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดา [4] โดยในขณะนั้น มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะมีพระชนมพรรษครบ 20 พรรษา โดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า[3]
"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว"
ผนวชและบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2[แก้]
บรมราชาภิเษกครั้งที่สอง
เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 20 พรรษาแล้ว เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2416 จึงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นพระภิกษุ แล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา 15 วัน หลังจากทรงลาสิกขาแล้ว ได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า[5]
"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ มหามงกุฎราชวรางกูร สุจริตมูลสุสาธิต อรรคอุกฤษฏไพบูลย์ บุรพาดูลย์กฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตร โสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขมาตยาภิรมย์ อุดมเดชาธิการ บริบูรณ์คุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินธร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
สวรรคต[แก้]
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระวักกะ (ไต) เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 2.45 นาฬิกา ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต รวมพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา [6] ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดให้วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันปิยมหาราช และเป็นวันหยุดราชการ
พระราชกรณียกิจ[แก้]
ต้นศตวรรษที่ 20 ทรงถูกจัดให้เป็น 1 ในผู้นำของ 16 ชาติผู้จะชี้นำโลก
พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัดและอำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์ ที่สำคัญ การก่อตั้งการประปา การไฟฟ้า ไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ การสื่อสาร การรถไฟ ส่วนการคมนาคม ให้มีการขุดคลองหลายแห่ง เช่น คลองประเวศบุรีรมย์ คลองสำโรง คลองแสนแสบ คลองนครเนื่องเขต คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองเปรมประชากร และ คลองทวีวัฒนา ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองส่งน้ำประปา จากเชียงราก สู่สามเสน อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ซึ่งคลองนี้ส่งน้ำจากแหล่งน้ำดิบเชียงราก ผ่านอำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรีและอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี,อำเภอปากเกร็ด และ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และ เขตสายไหม เขตบางเขน เขตดอนเมือง เขตหลักสี่ เขตจตุจักร เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพญาไท และ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
พระราชกรณียกิจด้านสังคม ทรงยกเลิกระบบไพร่ โดยให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์ นับเป็นการเกิดระบบทหารอาชีพในประเทศไทย[7] นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงดำเนินการเลิกทาสแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากออกกฎหมายให้ลูกทาสอายุครบ 20 ปีเป็นอิสระ จนกระทั่งออกพระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ซึ่งปล่อยทาสทุกคนให้เป็นอิสระและห้ามมีการซื้อขายทาส[8]
การปฏิรูปการปกครอง[แก้]
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงการคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตกที่มีต่อประเทศในแถบเอเชีย โดยมักอ้างความชอบธรรมในการเข้ายึดครองดินแดนแถบนี้ว่าเป็นการทำให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าอันเป็น "ภาระของคนขาว"[9] ทำให้ต้องทรงปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย โดยพระราชกรณียกิจดังกล่าวเริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2416[9]
ประการแรก ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นมาสองสภา ได้แก่ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (เคาน์ซิลออฟสเตต) และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (ปรีวีเคาน์ซิล) ในปี พ.ศ. 2417 และทรงตั้งขุนนางระดับพระยา 12 นายเป็น "เคาน์ซิลลอร์" ให้มีอำนาจขัดขวางหรือคัดค้านพระราชดำริได้ และทรงตั้งพระราชวงศานุวงศ์ 13 พระองค์ และขุนนางอีก 36 นาย ช่วยถวายความคิดเห็นหรือเป็นกรรมการดำเนินการต่าง ๆ แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ขุนนางตระกูลบุนนาค และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เห็นว่าสภาที่ปรึกษาเป็นความพยายามดึงพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้เกิดความขัดแย้งที่เรียกว่า วิกฤตการณ์วังหน้า[10] วิกฤตการณ์ดังกล่าวทำให้การปฏิรูปการปกครองชะงักลงกระทั่ง พ.ศ. 2428
พ.ศ. 2427 ทรงปรึกษากับพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ อัครราชทูตไทยประจำอังกฤษ ซึ่งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พร้อมเจ้านายและข้าราชการ 11 นาย ได้กราบทูลเสนอให้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พระองค์ทรงเห็นว่ายังไม่พร้อม แต่ก็โปรดให้ทรงศึกษารูปแบบการปกครองแบบประเทศตะวันตก และ พ.ศ. 2431 ทรงเริ่มทดลองแบ่งงานการปกครองออกเป็น 12 กรม (เทียบเท่ากระทรวง)[11]
พ.ศ. 2431 ทรงตั้ง "เสนาบดีสภา" หรือ "ลูกขุน ณ ศาลา" ขึ้นเป็นฝ่ายบริหาร ต่อมา ใน พ.ศ. 2435 ได้ตั้งองคมนตรีสภา เดิมเรียกสภาที่ปรึกษาในพระองค์ เพื่อวินิจฉัยและทำงานให้สำเร็จ และรัฐมนตรีสภา หรือ "ลูกขุน ณ ศาลาหลวง" ขึ้นเพื้อปรึกษาราชการแผ่นดินที่เกี่ยวกับกฎหมาย นอกจากนี้ยังทรงจัดให้มี "การชุมนุมเสนาบดี" อันเป็นการประชุมปรึกษาราชการที่มุขกระสัน พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท[12]
ด้วยความพอพระทัยในผลการดำเนินงานของกรมทั้งสิบสองที่ได้ทรงตั้งไว้เมื่อ พ.ศ. 2431 แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงประกาศตั้งกระทรวงขึ้นอย่างเป็นทางการจำนวน 12 กระทรวง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 อันประกอบด้วย
กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบงานที่เดิมเป็นของสมุหนายก ดูแลกิจการพลเรือนทั้งหมดและบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและชายทะเลตะวันออก
กระทรวงนครบาล รับผิดชอบกิจการในพระนคร
กระทรวงโยธาธิการ รับผิดชอบการก่อสร้าง
กระทรวงธรรมการ ดูแลการศาสนาและการศึกษา
กระทรวงเกษตรพานิชการ รับผิดชอบงานที่ในปัจจุบันเป็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์
กระทรวงยุติธรรม ดูแลเรื่องตุลาการ
กระทรวงมรุธาธร ดูแลเครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์
กระทรวงยุทธนาธิการ รับผิดชอบปฏิบัติการการทหารสมัยใหม่ตามแบบยุโรป
กระทรวงพระคลังสมบัติ รับผิดชอบงานที่ในปัจจุบันเป็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ (กรมท่า) รับผิดชอบการต่างประเทศ
กระทรวงกลาโหม รับผิดชอบกิจการทหาร และบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้
กระทรวงวัง รับผิดชอบกิจการพระมหากษัตริย์[13]
หลังจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบกิจการพลเรือนเพียงอย่างเดียว และให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบกิจการทหารเพียงอย่างเดียว ยุบกรม 2 กรม ได้แก่ กรมยุทธนาธิการ โดยรวมเข้ากับกระทรวงกลาโหม และกรมมรุธาธร โดยรวมเข้ากับกระทรวงวัง และเปลี่ยนชื่อกระทรวงเกษตรพานิชการ เป็น กระทรวงเกษตราธิการ ด้านการปกครองส่วนภูมิภาค มีการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ไทยกลายมาเป็นรัฐชาติสมัยใหม่[14] โดยการลดอำนาจเจ้าเมือง และนำข้าราชการส่วนกลางไปประจำแทน ทรงทำให้นครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2317-2442) รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ตลอดจนทรงแต่งตั้งให้กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ไปประจำที่อุดรธานี เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองแบบเทศาภิบาล[15]
พ.ศ. 2437 ทรงกำหนดให้เทศาภิบาลขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย ยกเลิกระบบกินเมือง และระบบหัวเมืองแบบเก่า (ได้แก่ หัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก และเมืองประเทศราช) จัดเป็นมณฑล เมือง อำเภอ หมู่บ้าน ระบบเทศาภิบาลดังกล่าวทำให้สยามกลายเป็นรัฐชาติที่มั่นคง มีเขตแดนที่ชัดเจนแน่นอน นับเป็นการรักษาเอกราชของประเทศ และทำให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น[16]
พระองค์ยังได้ส่งเจ้านายหลายพระองค์ไปศึกษาในทวีปยุโรป เพื่อมาดำรงตำแหน่งสำคัญในการปกครองที่ได้รับการปฏิรูปใหม่นี้ และทรงจ้างชาวต่างประเทศมารับราชการในตำแหน่งที่คนไทยยังไม่เชี่ยวชาญ ทรงตั้งสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศที่ท่าฉลอม พ.ศ. 2448[7]
การเสด็จประพาสต้นและประพาสหัวเมือง[แก้]
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้
การเสียดินแดน[แก้]
ดูบทความหลักที่: การเสียดินแดนของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์
การเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส[แก้]
ครั้งที่ 1 เสียแคว้นเขมร (เขมรส่วนนอก) เนื้อที่ประมาณ 123,050 ตารางกิโลเมตร และเกาะอีก 6 เกาะ วันที่ 15 กรกฎาคม 2410
ครั้งที่ 2 เสียแคว้นสิบสองจุไท หัวพันห้าทั้งหก เมืองพวน แคว้นหลวงพระบาง แคว้นเวียงจันทน์ คำม่วน และแคว้นจำปาศักดิ์ฝั่งตะวันออก (หัวเมืองลาวทั้งหมด) โดยยึดเอาดินแดนสิบสองจุไทย และได้อ้างว่าดินแดนหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และนครจำปาศักดิ์ เคยเป็นประเทศราชของญวนและเขมรมาก่อน จึงบีบบังคับเอาดินแดนเพิ่มอีก เนื้อที่ประมาณ 321,000 ตารางกิโลเมตร วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2431 ฝรั่งเศสข่มเหงไทยอย่างรุนแรงโดยส่งเรือรบล่วงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า ฝ่ายไทยยิงปืนไม่บรรจุกระสุน 3 นัดเพื่อเตือนให้ออกไป แต่ทางฝรั่งเศสกลับระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาเป็นอันมาก เกิดการรบกันพักหนึ่ง ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสนำเรือรบมาทอดสมอ หน้าสถานทูตของตนในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ (ทั้งนี้ประเทศอังกฤษ ได้ส่งเรือรบเข้ามาลอยลำอยู่ 2 ลำ ที่อ่าวไทยเช่นกัน แต่มิได้ช่วยปกป้องไทยแต่อย่างใด) ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทย 3 ข้อ ให้ตอบใน 48 ชั่วโมง เนื้อหา คือ
ให้ไทยใช้ค่าเสียหายสามล้านแฟรงค์ โดยจ่ายเป็นเหรียญนกจากเงินถุงแดง พร้อมส่งเช็คให้สถานทูตฝรั่งเศสแถวบางรัก
ให้ยกดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ ในแม่น้ำด้วย
ให้ถอนทัพไทยจากฝั่งแม่น้ำโขงออกให้หมดและไม่สร้างสถานที่สำหรับการทหาร ในระยะ 25 กิโลเมตร ทางฝ่ายไทยไม่ยอมรับในข้อ 2 ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพมาปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 และยึดเอาจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราดไว้ เพื่อบังคับให้ไทยทำตาม
ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 และฝรั่งเศสได้ยึดเอาจันทบุรีกับตราด ไว้ต่ออีก นานถึง 11 ปี (พ.ศ. 2436- พ.ศ. 2447)
ปี พ.ศ. 2446 ไทยต้องทำสัญญายกดินแดนให้ฝรั่งเศสอีก คือ ยกจังหวัดตราดและเกาะใต้แหลมสิงห์ลงไป (มีเกาะช้างเป็นต้น) ไปถึง ประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ดังนั้นฝรั่งเศสจึงถอนกำลังจากจันทบุรีไปตั้งที่ตราด ในปี พ.ศ. 2447
วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ไทยต้องยกดินแดนมณฑลบูรพา คือเขมรส่วนใน ได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสอีก ฝรั่งเศสจึงคืนจังหวัดตราดให้ไทย รวมถึงเกาะทั้งหลายจนถึงเกาะกูด
รวมแล้วในคราวนี้ ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ 66,555 ตารางกิโลเมตร
และไทยเสียดินแดนอีกครั้งทางด้านขวาของแม่น้ำโขง คืออาณาเขต ไซยะบูลี และ จำปาศักดิ์ตะวันตก ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450
การเสียดินแดนให้อังกฤษ[แก้]
เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ 13 เมืองกะเหรี่ยง) ให้อังกฤษ เมื่อ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2435
เสียดินแดน รัฐไทรบุรี รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และรัฐปะลิส ให้อังกฤษ เมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 (นับอย่างใหม่ พ.ศ. 2452) เพื่อขอกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ทองคำอัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี มีเวลาชำระหนี้ 40 ปี
พระราชนิพนธ์[แก้]
มีพระราชนิพนธ์ ทั้งหมด 10 เรื่อง[17]
ไกลบ้าน
เงาะป่า
นิทราชาคริต
พระราชพิธีสิบสองเดือน
กาพย์เห่เรือ
คำเจรจาละครเรื่องอิเหนา
ตำราทำกับข้าวฝรั่ง
พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี
โคลงบรรยายภาพรามเกียรติ์
โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
พระอิสริยยศและพระเกียรติยศ[แก้]
พระอิสริยยศ[แก้]
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชลัญจกรประจำพระองค์[แก้]
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 5
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร รัชกาลที่ 5
พระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 5
พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 6.8 ซ.ม. โดยมีตรา พระเกี้ยว หรือ พระจุลมงกุฏ ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง 2 ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า 2 ชั้น ทางด้านซ้ายวางสมุดตำรา และทางด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์เพชร โดยพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นการเจริญรอยจำลองมาจากพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การสร้างพระลัญจกรประจำพระองค์นั้น จะใช้แนวคิดจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ดังนั้น จึงเลือกใช้ พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ มาใช้เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ [18]
พระพุทธรูปประจำพระองค์[แก้]
พระพุทธรูปประจำพระชนมวารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระพุทธรูปปางห้ามพระแก่นจันทน์ ซึ่งโปรดให้สร้างขึ้นแทน ปางไสยาสน์เพราะทรงพระราชสมภพวันอังคาร โดยทรงให้สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2466-2453 สร้างด้วยทองคำ ความสูงรวมฐาน 34.60 เซนติเมตร พระพุทธรูปประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง เหนือพระเศียรกางกั้นด้วยฉัตรปรุทอง 3 ชั้น สร้างราว พ.ศ. 2453-2468 หน้าตักกว้าง 7.2 นิ้ว สูงเฉพาะองค์พระ 11.8 ซ.ม. สูงรวมฉัตร 47.3 ซ.ม.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
Order of the Royal House of Chakri (Thailand) ribbon.JPG เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์
Order of the Nine Gems.JPG เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
Order of Chula Chom Klao - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ
Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
Dushdi Mala - Military (Thailand).png เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ และ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน
Chakra Mala Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญจักรมาลา
King Rama IV Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 1
King Rama V Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1
King Rama V Rajaruchi Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 5
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
ประเทศ ปีที่ได้รับ เครื่องอิสริยาภรณ์ แพรแถบ อ้างอิง
ธงชาติของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี พ.ศ. 2412 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์สตีเฟน ชั้นที่ 1 Ord.S.Stefano.Ungh..JPG
ธงชาติของญี่ปุ่น ญี่ปุ่น พ.ศ. 2430 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ ชั้นสังวาล JPN Daikun'i kikkasho BAR.svg [19]
ธงชาติของเดนมาร์ก เดนมาร์ก พ.ศ. 2430 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง DEN Elefantordenen BAR.png [20]
ธงชาติของราชอาณาจักรอิตาลี ราชอาณาจักรอิตาลี พ.ศ. 2430 เครื่องราชอิสริยาภรณ์มอรีสแอนด์ลัสรัส Cavaliere di gran Croce Regno SSML BAR.svg [21]
ธงชาติของจักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซีย พ.ศ. 2434 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์แอนดริว RUS Order of St. Andrew the Apostle the First-Called BAR.png [22]
ธงชาติของราชอาณาจักรอิตาลี ราชอาณาจักรอิตาลี พ.ศ. 2435 Order of the Most Holy Annunciation Order of the Most Holy Annunciation BAR.svg [21]
ธงชาติของจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิเยอรมัน พ.ศ. 2440 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อินทรีดำ Ord.Aquilanera.png
พระราชสันตติวงศ์[แก้]
พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม
ดูบทความหลักที่: รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 5
พระราชโอรสและพระราชธิดา
ดูบทความหลักที่: พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พงศาวลี[แก้]
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
16. (=22.) สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี)
8. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
17. (=23.) พระอัครชายา (หยก หรือ ดาวเรือง)
4. (=24.) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
18. ทอง
9. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
19. สมเด็จพระรูปศิริโสภาค มหานาคนารี
2. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
20. เศรษฐีจีนฮกเกี้ยนแซ่ตัน
10. เงิน แซ่ตัน
21. น้องสาวของท่านผู้หญิงน้อย
ภรรยาของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่)
5. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
22. (=16.) สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี)
11. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
23. (=17.) พระอัครชายา (หยก หรือ ดาวเรือง)
1. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
24. (=4.) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
12. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
25. สมเด็จพระศรีสุราลัย
6. สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
26. พระอักษรสมบัติ (หม่อมราชวงศ์ทับ)
13. เจ้าจอมมารดาทรัพย์
27. ผ่อง
3. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
28.
14. บุศย์
29.
7. หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
30.
15. แจ่ม
31.ม่วง สุรคุปต์
อ้างอิง[แก้]
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
↑ กก.ชำระประวัติศาสตร์ เผยหลักฐาน ร.5 ทรงครองราชย์ 42 ปี จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553
↑ จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, สมเด็จพระภรรยาเจ้าและสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5, สำนักพิมพ์มติชน, 2546 ISBN 974-322-964-7
↑ 3.0 3.1 วุฒิชัย มูลศิลป์ และคณะ, พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์, อัลฟ่า มิเล็นเนียม, ISBN 974-91048-5-4
↑ แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, หม่อมราชวงศ์, พระอภิเนาว์นิเวศน์ พระราชนิเวศน์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, สำนักพิมพ์มติชน, 2549 ISBN 974-323-641-4
↑ ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, เล่ม 27, ตอน 0ง, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453, หน้า 1782
↑ 7.0 7.1 โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 43.
↑ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 43-44.
↑ 9.0 9.1 โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 34.
↑ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 35-36.
↑ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 36-37.
↑ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 37.
↑ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 38-39.
↑ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 40.
↑ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 41.
↑ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 42.
↑ พระปิยมหาราช ทรงเป็นกวีเอก อีกพระองค์หนึ่ง ชึ่งมีผลงานพระราชนิพนธ์ ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
↑ สนเทศน่ารู้ : พระราชลัญจกรประจำรัชกาล, สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
↑ ราชกิจจานุเบกษา, เจ้าญี่ปุ่นเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท, เล่ม ๔, ตอน ๓๒, ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๐, หน้า ๒๕๗
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ผู้แทนกงสุลเยเนอราลเดนมากเฝ้าทูลละอองธุลพระบาทถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘ , ตอน ๕๒, ๒๗ มีนาคม ค.ศ.๑๘๙๑, หน้า ๔๗๐
↑ 21.0 21.1 ราชกิจจานุเบกษา, ราชทูตอิตาลีเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙, ตอน ๓๐, ๒๓ ตุลาคม ค.ศ.๑๘๙๒, หน้า ๒๔๙
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวทูตรุสเซียฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘, ตอน ๑๖, ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๔, หน้า ๑๔๒
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ.พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.MBA.กรุงเทพมหานคร.2536
ดูเพิ่ม[แก้]
ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
วันปิยมหาราช
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ และ ธาดา สืบหลินวงศ์, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2leftarrow.png Emblem of the House of Chakri.svg
พระมหากษัตริย์สยาม
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) 2rightarrow.png พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด พ ก
รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย
กรุงสุโขทัย
ราชวงศ์พระร่วง
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ • พ่อขุนบานเมือง • พ่อขุนรามคำแหงมหาราช • พระยาเลอไท • พระยางั่วนำถม • พระมหาธรรมราชาที่ 1 • พระมหาธรรมราชาที่ 2 • พระมหาธรรมราชาที่ 3 • พระมหาธรรมราชาที่ 4
King's Standard of Thailand.svg
กรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์อู่ทอง
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 • สมเด็จพระราเมศวร • สมเด็จพระรามราชาธิราช
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 • สมเด็จพระเจ้าทองลัน • สมเด็จพระอินทราชา • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 • สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 • พระรัษฎาธิราช • สมเด็จพระไชยราชาธิราช • พระยอดฟ้า • ขุนวรวงศาธิราช (บางตำราไม่นับ) • สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ • สมเด็จพระมหินทราธิราช
ราชวงศ์สุโขทัย
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช • สมเด็จพระนเรศวรมหาราช • สมเด็จพระเอกาทศรถ • พระศรีเสาวภาคย์ • สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม • สมเด็จพระเชษฐาธิราช • พระอาทิตยวงศ์
ราชวงศ์ปราสาททอง
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง • สมเด็จเจ้าฟ้าไชย • สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา • สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
สมเด็จพระเพทราชา • สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 • สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ • สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร • สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์
กรุงธนบุรี
ราชวงศ์ธนบุรี
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
กรุงรัตนโกสินทร์
ราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร • พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลปัจจุบัน)
พระนามที่เป็นตัวหนา คือ พระองค์ที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญานามว่า มหาราช
ราชวงศ์ที่เกี่ยวข้อง: ราชวงศ์หริภุญชัย • ราชวงศ์มังราย •ราชวงศ์ทิพย์จักร
ด พ ก
รายพระนามกษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช
ทวีปเอเชีย
พระเจ้าพรหมมหาราช • พญามังรายมหาราช • พ่อขุนรามคำแหงมหาราช • สมเด็จพระนเรศวรมหาราช • สมเด็จพระนารายณ์มหาราช • สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช • พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช • สมเด็จพระปิยมหาราช • สมเด็จพระภัทรมหาราช • พระเจ้าเซจงมหาราช • พระเจ้าอโศกมหาราช • พระเจ้าอโนรธามังช่อ • พระเจ้าบุเรงนอง • พระเจ้าอลองพญา • จักรพรรดิเฉียนหลง • จิ๋นซีฮ่องเต้ • เจงกีส ข่าน • จักรพรรดิฮั่นอู่ • จักรพรรดิคังซี • พระเจ้ากนิษกะ • พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 • พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 • พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 • พระเจ้าไชยเชษฐา • พระเจ้าราชราช โจฬะที่ 1 • จักรพรรดิอักบัร • พระเจ้าอวี่ • พระเจ้ากวางแกโตมหาราช • พระเจ้าแทโจมหาราช • พระเจ้าจางซูมหาราช • พระเจ้าซองด๊อกมหาราช • จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส • พระเจ้าดงเมียงยอง
ทวีปยุโรป
อเล็กซานเดอร์มหาราช • จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 • พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช • แคทเธอรีนมหาราชินี • ฟรีดริชที่ 2 มหาราช • ซาร์ปีเตอร์มหาราช • พระเจ้าคนุตมหาราช • พระเจ้าอ็องรีมหาราช • พระเจ้าไทกราเนสมหาราช • ซาร์อีวานมหาราช • วลาดีมีร์มหาราช • คอนสแตนตินมหาราช • ธีโอโดเซียสมหาราช • จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 • พระเจ้าธีโอดอริคมหาราช • จักรพรรดิออทโทที่ 1 มหาราช
ทวีปแอฟริกา
ฟาโรห์รามเสสมหาราช • แอสเกียมหาราช • ราดามามหาราช
ตะวันออกกลาง
แฮรอดมหาราช • ไซรัสมหาราช • ดาไรอัสมหาราช • แอนทิโอคัสมหาราช • มิทริเดทีสมหาราช • ซาปูร์มหาราช • อับบาสมหาราช • เซอร์ซีสมหาราช • กาหลิบอูมัวร์ • สุลต่านสุลัยมานมหาราช • ชาห์กะรีมข่านมหาราช • ชาห์เรซามหาราช
ทวีปอเมริกาเหนือ
คาเมฮาเมฮามหาราช • ม็อคเตซูมามหาราช
ด พ ก
บุคคลสำคัญของโลกชาวไทยโดยองค์การยูเนสโก
พระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Flag of UNESCO.svg
พระบรมวงศานุวงศ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ • สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส • พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ • สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก • สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี • พระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท • สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า • สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
บุคคลสำคัญ
สุนทรภู่ • พระยาอนุมานราชธน • ปรีดี พนมยงค์ • หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล • กุหลาบ สายประดิษฐ์ • พุทธทาสภิกขุ • เอื้อ สุนทรสนาน • หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช • หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ • หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา
ดูเพิ่ม: สถานีย่อย • มรดกโลกในไทย
ด พ ก
พระราชโอรสและพระราชธิดาในรัชกาลที่ 4 ที่ได้ทรงกรม
พระราชโอรส
กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส • กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร • กรมขุนพินิตประชานาถ • กรมพระจักรพรรดิพงษ์ • กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช • กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ • กรมหลวงพิชิตปรีชากร • กรมหลวงอดิศรอุดมเดช • กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ • กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม • กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ • กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร • กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ • กรมขุนสิริธัชสังกาศ • กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ • กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ • กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ • กรมพระยาวชิรญาณวโรรส • กรมพระสมมตอมรพันธ์ • กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา • กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป • กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ • กรมพระยาดำรงราชานุภาพ • กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา • กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ • กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ • กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ • กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
พระราชธิดา
กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ • กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ • กรมขุนขัตติยกัลยา • กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี
เจ้าต่างกรม ใน รัชกาลที่ 1 • รัชกาลที่ 2 • รัชกาลที่ 3 • รัชกาลที่ 4 • รัชกาลที่ 5 • วังหน้าและวังหลัง
ด พ ก
การเฉลิมพระยศเจ้านาย : สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
กรมพระยา
กรมพระยาเทพสุดาวดี • กรมพระยาเดชาดิศร • กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร • กรมพระยาบำราบปรปักษ์ • กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ • กรมพระยาวชิรญาณวโรรส • กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช • กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ • กรมพระยาดำรงราชานุภาพ • กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ • กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
Emblem of the House of Chakri.svg
กรมพระ
กรมพระศรีสุดารักษ์ • กรมพระปรมานุชิตชิโนรส • กรมพระรามอิศเรศ • กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ • กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ • กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ • กรมพระจักรพรรดิพงษ์ • กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ • กรมพระสมมตอมรพันธ์ • กรมพระเทพนารีรัตน์ • กรมพระจันทบุรีนฤนาถ • กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ • กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ • กรมพระนครสวรรค์วรพินิต • กรมพระสุทธาสินีนาฏ • กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
กรมหลวง
กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ • กรมหลวงธิเบศรบดินทร์ • กรมหลวงนรินทรรณเรศร์ • กรมหลวงจักรเจษฎา • กรมหลวงอิศรสุนทร (King's Standard of Thailand.svg) • กรมหลวงเทพหริรักษ์ • กรมหลวงศรีสุนทรเทพ • กรมหลวงเสนานุรักษ์ • กรมหลวงพิทักษ์มนตรี • กรมหลวงเทพยวดี • กรมหลวงเทพพลภักดิ์ • กรมหลวงรักษ์รณเรศ • กรมหลวงเสนีบริรักษ์ • กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิสุขวัฒนวิไชย • กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ • กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ • กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา • กรมหลวงวงศาธิราชสนิท • กรมหลวงนรินทรเทวี • กรมหลวงวรศักดาพิศาล • กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ • กรมหลวงพิชิตปรีชากร • กรมหลวงวรเสรฐสุดา • กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ • กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม • กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร • กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ • กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ • กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร • กรมหลวงปราจิณกิติบดี • กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช • กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ • กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ • กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ • กรมหลวงอดิศรอุดมเดช • กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ • กรมหลวงนครราชสีมา • กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ • กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา (King's Standard of Thailand.svg) • กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ • กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ • กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี • กรมหลวงสงขลานครินทร์ • กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร • กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ • กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
กรมขุน
กรมขุนสุนทรภูเบศร์ • กรมขุนกษัตรานุชิต • กรมขุนอิศรานุรักษ์ • กรมขุนศรีสุนทร • กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ • กรมขุนกัลยาสุนทร • กรมขุนสถิตย์สถาพร • กรมขุนนรานุชิต • กรมขุนธิเบศวร์บวร • กรมขุนพินิตประชานาถ (King's Standard of Thailand.svg) • กรมขุนวรจักรธรานุภาพ • กรมขุนราชสีหวิกรม • กรมขุนรามินทรสุดา • กรมขุนอนัคฆนารี • กรมขุนเทพนารี • กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล • กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ • กรมขุนขัตติยกัลยา • กรมขุนเทพทวาราวดี (King's Standard of Thailand.svg) • กรมขุนอรรควรราชกัลยา • กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ • กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา • กรมขุนสุพรรณภาควดี • กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย • กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ • กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี • กรมขุนสิริธัชสังกาศ • กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ • กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา • กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
กรมหมื่น
กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ • กรมหมื่นพิทักษ์เทวา • กรมหมื่นศักดิพลเสพ • กรมหมื่นนราเทเวศร์ • กรมหมื่นนเรศร์โยธี • กรมหมื่นเสนีเทพ • กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ (King's Standard of Thailand.svg) • กรมหมื่นอินทรพิพิธ • กรมหมื่นจิตรภักดี • กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ • กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ • กรมหมื่นสุนทรธิบดี • กรมหมื่นนรินทรเทพ • กรมหมื่นศรีสุเทพ • กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ • กรมหมื่นเสพสุนทร • กรมหมื่นอมรมนตรี • กรมหมื่นนเรนทร์บริรักษ์ • กรมหมื่นไกรสรวิชิต • กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ • กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ • กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ • กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ • กรมหมื่นถาวรวรยศ • กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา • กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ • กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ • กรมหมื่นภูมินทรภักดี • กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส • กรมหมื่นมนตรีรักษา • กรมหมื่นเทวานุรักษ์ • กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร • กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ • กรมหมื่นอุดมรัตนราษี กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย • กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ • กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช • กรมหมื่นอมเรศรัศมี • กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ • กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ • กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ • กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ • กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ • กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ • กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ • กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ • กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร • กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย • กรมหมื่นปราบปรปักษ์ • กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ • กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา • กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ • กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป • กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร • กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม • กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ • กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ • กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี • กรมหมื่นกวีสุพจน์ปรีชา • กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ • กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส • กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ • กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช • กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย • กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร • กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต • กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ • กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ • กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
King's Standard of Thailand.svg = สืบราชสมบัติ • ตัวเอียง = ฝ่ายใน
สมัยกรุงศรีอยุธยา • สมัยกรุงธนบุรี • สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ด พ ก
พระราชโอรสในพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
รัชกาลที่ 1
เจ้าฟ้าฉิม* เจ้าฟ้าจุ้ย** พระองค์เจ้ากล้าย พระองค์เจ้าทับทิม พระองค์เจ้าอภัยทัต พระองค์เจ้าอรุโณทัย** พระองค์เจ้าทับ พระองค์เจ้าคันธรส พระองค์เจ้าสุริยา พระองค์เจ้าวาสุกรี พระองค์เจ้าฉัตร พระองค์เจ้าสุริยวงศ์ พระองค์เจ้าไกรสรX พระองค์เจ้าดารากร พระองค์เจ้าดวงจักร พระองค์เจ้าสุทัศน์
Emblem of the House of Chakri.svg
รัชกาลที่ 2
เจ้าฟ้ามงกุฎ* เจ้าฟ้าจุฑามณี** เจ้าฟ้าอาภรณ์ เจ้าฟ้ามหามาลา เจ้าฟ้าปิ๋ว พระองค์เจ้าทับ* พระองค์เจ้าหนูดำ พระองค์เจ้ากล้วยไม้ พระองค์เจ้าเนียม พระองค์เจ้าโคมเพชร พระองค์เจ้าพนมวัน พระองค์เจ้ากุญชร พระองค์เจ้าทินกร พระองค์เจ้ากุสุมา พระองค์เจ้ามั่ง พระองค์เจ้าเนตร พระองค์เจ้าเรณู พระองค์เจ้าอำไพ พระองค์เจ้าอัมพร พระองค์เจ้าขัตติยวงศ์ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ พระองค์เจ้าชุมแสง พระองค์เจ้ากลาง พระองค์เจ้าโต พระองค์เจ้านวม พระองค์เจ้าขัตติยา พระองค์เจ้ามรกฎ พระองค์เจ้านิลรัตน พระองค์เจ้าเน่า พระองค์เจ้าอรุณวงษ์ พระองค์เจ้ากปิตถา พระองค์เจ้าปราโมช พระองค์เจ้าเกยูร
รัชกาลที่ 3
พระองค์เจ้ากระวีวงศ์ พระองค์เจ้าคเนจร พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระองค์เจ้าดำ พระองค์เจ้าโกเมน พระองค์เจ้าศิริวงศ์ พระองค์เจ้างอนรถ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ พระองค์เจ้าอุไร พระองค์เจ้าชุมสาย พระองค์เจ้าเปียก พระองค์เจ้าอรรณพ พระองค์เจ้าลำยอง พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ พระองค์เจ้าอมฤตย์ พระองค์เจ้าสุบรรณ พระองค์เจ้าสิงหรา พระองค์เจ้าชมพูนุท พระองค์เจ้าจินดา
รัชกาลที่ 4
เจ้าฟ้าโสมนัส เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์* เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ พระองค์เจ้านพวงศ์ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ พระองค์เจ้าทักษิณาวัฏ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช พระองค์เจ้าศุขสวัสดี พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค พระองค์เจ้าเสวตรวรลาภ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ พระองค์เจ้าไชยานุชิต พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระองค์เจ้าเจริญรุ่งราษี พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ พระองค์เจ้าวรวรรณากร พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต พระองค์เจ้าไชยันตมงคล
รัชกาลที่ 5
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ^* เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์* เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ^ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ พระองค์เจ้ายุคลฑิฆัมพร พระองค์เจ้าอิศรวงศ์วรราชกุมาร พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ พระองค์เจ้าวุฒิสมัยวโรดม พระองค์เจ้าเขจรจิรประดิษฐ์ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช
รัชกาลที่ 6
ไม่มีพระโอรส
รัชกาลที่ 7
ไม่มีพระโอรสธิดา
รัชกาลที่ 8
ไม่มีพระโอรสธิดา
รัชกาลที่ 9
เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น