พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Nangklao.jpg
พระบรมนามาภิไธย ทับ
พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
รัชกาล 27 ปี
รัชกาลก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดประจำรัชกาล วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330
สวรรคต 2 เมษายน พ.ศ. 2394
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระราชมารดา กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย
พระชายา 49 พระองค์
พระราชบุตร 51 พระองค์
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า[1] เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 นาฬิกา (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 ซึ่งภายหลังพระราชชนนีได้รับการสถาปนาเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระองค์เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 รวมสิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี
ทรงมีเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม 5 พระองค์ มีพระราชโอรส-ราชธิดา ทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 รวมพระชนมพรรษา 64 พรรษา
เนื้อหา
1 พระราชประวัติ
2 พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา
3 พระราชกรณียกิจ
3.1 ด้านความมั่นคง
3.2 ด้านการคมนาคม
3.3 ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
3.4 ด้านการศึกษา
3.5 ด้านความเป็นอยู่
3.6 ด้านการค้ากับต่างประเทศ
3.7 ด้านศิลปกรรม
4 เหตุการณ์สำคัญ
5 วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า
6 อ้างอิง
7 ดูเพิ่ม
8 พงศาวลี
9 แหล่งข้อมูลอื่น
พระราชประวัติ[แก้]
ตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 3 รูปปราสาท สอดคล้องกับพระนามเดิม "ทับ" ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุลาไลย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 ณ พระราชวังเดิม ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในขณะที่พระองค์ประสูตินั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร พระองค์จึงมีสกุลยศชั้นหม่อมเจ้าพระนามว่า หม่อมเจ้าชายทับ จนกระทั่ง สมเด็จพระราชชนกทรงรับอุปราชาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชายทับ
เมื่อสมเด็จพระราชชนกได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 2 ใน พ.ศ. 2352 พระองค์จึงได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าชั้นเอก ออกพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ จนปี พ.ศ. 2356 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติแล้ว ทรงออกพระนามเต็ม ตามพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว" นับเป็น "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6"
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่ เป็น "พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร์ สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" ออกพระนามโดยย่อว่า "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีประกาศให้เฉลิมพระปรมาภิไธย เป็น "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" หรือ "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3"[2]
ในปี พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ถวายพระราชสมัญญาว่า "พระมหาเจษฎาราชเจ้า" และได้ใช้เป็นสร้อยพระนามสืบมาจนปัจจุบัน[3]
พระมหากษัตริย์แห่ง
ราชวงศ์จักรี
Buddha Yodfa Chulaloke portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
Buddha Loetla Nabhalai portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
Nangklao portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
Rama4 portrait (cropped).jpg พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Chulalongkorn.jpg พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Vajiravudh.jpg พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
Prajadhipok portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Ananda Mahidol portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
Bhumibol Adulyadej portrait.jpg พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ด • พ • ก
เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ 37 พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3
พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา[แก้]
พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม
ดูบทความหลักที่: รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 3
พระราชโอรสและพระราชธิดา
ดูบทความหลักที่: พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชกรณียกิจ[แก้]
พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล
ด้านความมั่นคง[แก้]
พระองค์ได้ทรงป้องกันราชอาณาจักรด้วยการส่งกองทัพไปสกัดทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ไม่ให้ยกทัพเข้ามาถึงชานพระนครและขัดขวางไม่ให้เวียงจันทน์เข้าครอบครองหัวเมืองอีสานของสยาม นอกจากนี้ พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการทำให้สยามกับญวนยุติการสู้รบระหว่างกันเกี่ยวกับเรื่องเขมรโดยที่สยามไม่ได้เสียเปรียบญวนแต่อย่างใด
ด้านการคมนาคม[แก้]
ในรัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย คลองจึงมีความสำคัญมากในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จึงโปรดฯให้มีการขุดคลองขึ้น เช่น คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และ คลองหมาหอน
ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา[แก้]
พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น พระประธานในอุโบสถวัดสุทัศน์ วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายกและวัดนางนอง ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น 3 วัด คือ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดเทพธิดารามและวัดราชนัดดาราม ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดเก่าอีก 35 วัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 วัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม เป็นต้น
ด้านการศึกษา[แก้]
ทรงทำนุบำรุง และ สนับสนุนการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่งคือ หนังสือจินดามณี โปรดเกล้าฯ ให้ผู้รู้นำตำราต่างๆ มาจารึกลงในศิลาตามศาลารอบพุทธาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ปั้นตึ้งไว้ตามเขามอและเขียนไว้ตามฝาผนังต่างๆ มีทั้งอักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ พุทธศาสตร์ โบราณคดี ฯลฯ เพื่อเป็นการเผยแพร่วิชาการสาขาต่างๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรุงสยาม
ด้านความเป็นอยู่[แก้]
พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ด้วยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ไม่ทรงสามารถจะบำบัดทุกข์ให้ราษฎรได้ หากไม่เสด็จออกนอกพระราชวัง เพราะราษฎรจะร้องถวายฏกาได้ต่อเมื่อพระคลังเวลาเสด็จออกนอกพระราชวังเท่านั้น จึงโปรดให้นำกลองวินิจฉัยเภรีออกตั้ง ณ ทิมดาบกรมวัง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อราษฎรผู้มีทุกข์จะได้ตีกลองร้องถวายฎีกาไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป โดยพระองค์จะคอยซักถามอยู่เนื่องๆ ทำให้ตุลาการ ผู้ทำการพิพากษาไม่อาจพลิกแพลงคดีเป็นอื่นได้
ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีศาสนาจารย์และนายแพทย์ชาวอเมริกันและอังกฤษเดินทางเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้คือศาสนาจารย์ แดน บีช บรัดเลย์ เอ็ม.ดี. หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนามของ หมอบรัดเลย์ ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น (ปี พ.ศ. 2379) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2379 ต่อมาปี พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคดี ข่าวราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387
หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขายและผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. กระต่าย อิสรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ในราคา 400 บาท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 และตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404
ด้านการค้ากับต่างประเทศ[แก้]
พระองค์ทรงสนับสนุนส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ ทั้งกับชาวเอเชียและชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ากับจีนมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์ทรงดำรงพระอิสสริยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ส่งผลให้พระคลังสินค้ามีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ มีการแต่งสำเภาทั้งของราชการ เจ้านาย ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และพ่อค้าชาวจีนไปค้าขายยังเมืองจีนและประเทศใกล้เคียง รวมถึงการเปิดค้าขายกับมหาอำนาจจะวันตกจนมีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างกันคือ สนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และ 6 ปีต่อมาก็ได้เปิดสัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกาและมีการทำสนธิสัญญาต่อกันใน พ.ศ. 2375 นับเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สหรัฐอเมริกาทำกับประเทศทางตะวันออก ส่งผลให้ไทยได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมาก
ด้านศิลปกรรม[แก้]
เรือสำเภาจีนที่วัดยานนาวา
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสงขรณ์พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามจนแล้วเสร็จ และทรงมีรับสั่งให้สร้างเรือสำเภาก่อด้วยอิฐในวัดยานนาวา เพื่อให้ประชาชนได้รู้ว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะอย่างไร เพราะทรงเล็งเห็นว่าภายหน้าจะไม่มีการสร้างเรือสำเภาอีกแล้ว
สำหรับวรรณกรรม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตจารึกวรรณคดีที่สำคัญๆ และวิชาแพทย์แผนโบราณลงบนแผ่นศิลา แล้วติดไว้ตามศาลารายรอบพระอุโบสถ รอบพระมหาเจดีย์บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
พ.ศ. 2367 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุได้ 57 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีให้อุปราชาภิเษกพระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล"
โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า
พ.ศ. 2368 เฮนรี เบอร์นี ขอเข้ามาทำสัญญาค้าขาย
พ.ศ. 2369 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้:
ลงนามในสัญญา เบอร์นี
เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบ กำเนิดวีรกรรมท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพหน้าเป็นเจ้าพระราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก
พ.ศ. 2370 เริ่มสร้างพระสมุทรเจดีย์
พ.ศ. 2371 ร้อยเอกเจมส์โลว์ จัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรก มิชชันนารีอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย
พ.ศ. 2372 เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จับเจ้าอนุวงศ์ จัดส่งลงมากรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก
กำเนิดสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
โปรดเกล้าให้ทำการสังคายนาเป็นภาษาไทย
ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดพระเชตุพนฯลฯได้ตั้งโรงเรียนหลวง (วัดพระเชตุพน) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ และได้ถือกำเนิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372 ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ
พ.ศ. 2373พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นว่าที่สมุหพระกลาโหม
พ.ศ. 2374
ทำการบูรณะวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ใช้เวลา 16 ปีในการสร้าง
เกิดน้ำท่วมใหญ่ในพระราชอาณาจักร
พ.ศ. 2375 ประธานาธิบดีแจคสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ส่งเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เข้ามาขอเจริญพระราชไมตรีทำการค้ากับไทย
พ.ศ. 2376 ญวนเกิดกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพใหญ่ผู้สำเร็จราชการไปรบกับญวน
พ.ศ. 2377
ออกหวย ก.ข. เป็นครั้งแรก
ญวนได้ส่งพระอุไทยราชามาปกครองเขมร
พ.ศ. 2378 เกิดภาวะเงินฝืดเคือง
พ.ศ. 2380 หมอบรัดเลย์ คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงไปหัดปลูกฝีกับหมอบรัดเลย์
พ.ศ. 2381 เกิดกบฏหวันหมาดหลี ที่หัวเมืองไทรบุรี
พ.ศ. 2382 ทรงประกาศห้ามสูบฝิ่น เพื่อส่งเสริมศีลธรรมในบ้านเมือง และ มีการเผาฝิ่น และ โรงยา ฝิ่น พร้อม มีการปราบอั้งอั้งยี่ซึ่งค้าฝิ่น เหล่านั้น
พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2386 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงขึ้นในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2386 แนวคราสมืดพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง กรุงเทพฯเห็นเป็นชนิดบางส่วน 82%
พ.ศ. 2389 ญวนขอหย่าทัพกับเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม
พ.ศ. 2390 ทรงอภิเษกให้นักองค์ด้วงเป็นพระบาทสมเด็จพระนโรดม หริรักษ์รามาธิบดีครองกรุงกัมพูชา
พ.ศ. 2391 ญวนขอเจริญพระราชไมตรีดังเดิม กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กลับกรุงเทพฯ
พ.ศ. 2392 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และ เจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ บุนนาค) ปราบอั้งยี่ ที่ ฉะเชิงเทรา
เกิดอหิวาตกโรคระบาด มีคนตายมากกว่า 30,000 คน ซึ่งรวมถึง เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
พ.ศ. 2393 อังกฤษ และสหรัฐฯ ขอแก้สนธิสัญญา
พ.ศ. 2394 เสด็จสวรรคต เมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2394รวมพระชนมายุได้ 64 พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมบัติ 27 ปี
วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า[แก้]
คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปีเป็น วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า หรือ วันเจษฎาบดินทร์ เป็นวันสำคัญของชาติ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ และเห็นชอบให้ให้ถวายพระราชสมัญญาว่า “ พระมหาเจษฎาราชเจ้า ” แปลว่า “ พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ ”[1]
อ้างอิง[แก้]
↑ 1.0 1.1 วันเจษฎาบดินทร์. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุดรธานี อ้างจากบทความโดย เยาวนิศ เต็งไตรรัตน์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้น 31-3-2555
↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธย, เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๒๑๒
↑ หมายกำหนดการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในการถวายพระราชสมัญญา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า. เล่ม ๑๑๕, ตอนพิเศษ ๒๕ง, ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑, หน้า๑๙
อ. วิโรจน์ ไตรเพียร, 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี, สำนักพิมพ์ คลังศึกษา, 2543, หน้า 30-36
ดูเพิ่ม[แก้]
ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
พระปฐมวงศ์ในพระบรมราชวงศ์จักรี
พระราชประวัติอย่างย่อ
พงศาวลี[แก้]
16. พระยาราชนิกูล (ทองคำ)
8. สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
17. ลูกจันทร์
4. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
18. หลง
9. สมเด็จพระราชชนนีดาวเรือง
19. กิม
2. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
20. เชื่อม
10. พระชนกทอง ณ บางช้าง
21. อุ่น
5. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
22. แสง
11. สมเด็จพระรูปศิริโสภาค มหานาคนารี
23. ถี
1. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
24.
12.
25.
6. พระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน (บุญจัน)
26.
13.
27.
3. สมเด็จพระศรีสุลาไลย
28. เจ้าพระยาจักรี (หมุด)
14. พระยาราชวังสัน (หวัง)
29.
7. คุณหญิงเพ็ง นนทบุรีศรีมหาอุทยาน
30.
15. คุณหญิงชู ราชวังสัน
31.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ:
Rama III
ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย 2leftarrow.png Emblem of the House of Chakri.svg
พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์
(21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) 2rightarrow.png พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(พระมหากษัตริย์สยาม)
ด พ ก
รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย
กรุงสุโขทัย
ราชวงศ์พระร่วง
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ • พ่อขุนบานเมือง • พ่อขุนรามคำแหงมหาราช • พระยาเลอไท • พระยางั่วนำถม • พระมหาธรรมราชาที่ 1 • พระมหาธรรมราชาที่ 2 • พระมหาธรรมราชาที่ 3 • พระมหาธรรมราชาที่ 4
King's Standard of Thailand.svg
กรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์อู่ทอง
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 • สมเด็จพระราเมศวร • สมเด็จพระรามราชาธิราช
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 • สมเด็จพระเจ้าทองลัน • สมเด็จพระอินทราชา • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 • สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 • พระรัษฎาธิราช • สมเด็จพระไชยราชาธิราช • พระยอดฟ้า • ขุนวรวงศาธิราช (บางตำราไม่นับ) • สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ • สมเด็จพระมหินทราธิราช
ราชวงศ์สุโขทัย
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช • สมเด็จพระนเรศวรมหาราช • สมเด็จพระเอกาทศรถ • พระศรีเสาวภาคย์ • สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม • สมเด็จพระเชษฐาธิราช • พระอาทิตยวงศ์
ราชวงศ์ปราสาททอง
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง • สมเด็จเจ้าฟ้าไชย • สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา • สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
สมเด็จพระเพทราชา • สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 • สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ • สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร • สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์
กรุงธนบุรี
ราชวงศ์ธนบุรี
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
กรุงรัตนโกสินทร์
ราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร • พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลปัจจุบัน)
พระนามที่เป็นตัวหนา คือ พระองค์ที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญานามว่า มหาราช
ราชวงศ์ที่เกี่ยวข้อง: ราชวงศ์หริภุญชัย • ราชวงศ์มังราย •ราชวงศ์ทิพย์จักร
ด พ ก
พระราชโอรสและพระราชธิดาในรัชกาลที่ 2 ที่ได้ทรงกรม
พระราชโอรส
กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ • กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ • กรมพระยาบำราบปรปักษ์ • กรมหมื่นเสพสุนทร • กรมหมื่นสุนทรธิบดี • กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ • กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ • กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ • กรมพระยาเดชาดิศร • กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ • กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา • กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ • กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ • กรมหลวงวงศาธิราชสนิท • กรมขุนสถิตย์สถาพร • กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา • กรมหลวงวรศักดาพิศาล • กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ • กรมขุนวรจักรธรานุภาพ • กรมหมื่นถาวรวรยศ
พระราชธิดา
กรมขุนกัลยาสุนทร
เจ้าต่างกรม ใน รัชกาลที่ 1 • รัชกาลที่ 2 • รัชกาลที่ 3 • รัชกาลที่ 4 • รัชกาลที่ 5 • วังหน้าและวังหลัง
ด พ ก
การเฉลิมพระยศเจ้านาย : สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
กรมพระยา
กรมพระยาเทพสุดาวดี • กรมพระยาเดชาดิศร • กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร • กรมพระยาบำราบปรปักษ์ • กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ • กรมพระยาวชิรญาณวโรรส • กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช • กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ • กรมพระยาดำรงราชานุภาพ • กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ • กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
Emblem of the House of Chakri.svg
กรมพระ
กรมพระศรีสุดารักษ์ • กรมพระปรมานุชิตชิโนรส • กรมพระรามอิศเรศ • กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ • กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ • กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ • กรมพระจักรพรรดิพงษ์ • กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ • กรมพระสมมตอมรพันธ์ • กรมพระเทพนารีรัตน์ • กรมพระจันทบุรีนฤนาถ • กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ • กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ • กรมพระนครสวรรค์วรพินิต • กรมพระสุทธาสินีนาฏ • กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
กรมหลวง
กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ • กรมหลวงธิเบศรบดินทร์ • กรมหลวงนรินทรรณเรศร์ • กรมหลวงจักรเจษฎา • กรมหลวงอิศรสุนทร (King's Standard of Thailand.svg) • กรมหลวงเทพหริรักษ์ • กรมหลวงศรีสุนทรเทพ • กรมหลวงเสนานุรักษ์ • กรมหลวงพิทักษ์มนตรี • กรมหลวงเทพยวดี • กรมหลวงเทพพลภักดิ์ • กรมหลวงรักษ์รณเรศ • กรมหลวงเสนีบริรักษ์ • กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิสุขวัฒนวิไชย • กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ • กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ • กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา • กรมหลวงวงศาธิราชสนิท • กรมหลวงนรินทรเทวี • กรมหลวงวรศักดาพิศาล • กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ • กรมหลวงพิชิตปรีชากร • กรมหลวงวรเสรฐสุดา • กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ • กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม • กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร • กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ • กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ • กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร • กรมหลวงปราจิณกิติบดี • กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช • กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ • กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ • กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ • กรมหลวงอดิศรอุดมเดช • กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ • กรมหลวงนครราชสีมา • กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ • กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา (King's Standard of Thailand.svg) • กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ • กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ • กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี • กรมหลวงสงขลานครินทร์ • กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร • กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ • กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
กรมขุน
กรมขุนสุนทรภูเบศร์ • กรมขุนกษัตรานุชิต • กรมขุนอิศรานุรักษ์ • กรมขุนศรีสุนทร • กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ • กรมขุนกัลยาสุนทร • กรมขุนสถิตย์สถาพร • กรมขุนนรานุชิต • กรมขุนธิเบศวร์บวร • กรมขุนพินิตประชานาถ (King's Standard of Thailand.svg) • กรมขุนวรจักรธรานุภาพ • กรมขุนราชสีหวิกรม • กรมขุนรามินทรสุดา • กรมขุนอนัคฆนารี • กรมขุนเทพนารี • กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล • กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ • กรมขุนขัตติยกัลยา • กรมขุนเทพทวาราวดี (King's Standard of Thailand.svg) • กรมขุนอรรควรราชกัลยา • กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ • กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา • กรมขุนสุพรรณภาควดี • กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย • กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ • กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี • กรมขุนสิริธัชสังกาศ • กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ • กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา • กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
กรมหมื่น
กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ • กรมหมื่นพิทักษ์เทวา • กรมหมื่นศักดิพลเสพ • กรมหมื่นนราเทเวศร์ • กรมหมื่นนเรศร์โยธี • กรมหมื่นเสนีเทพ • กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ (King's Standard of Thailand.svg) • กรมหมื่นอินทรพิพิธ • กรมหมื่นจิตรภักดี • กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ • กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ • กรมหมื่นสุนทรธิบดี • กรมหมื่นนรินทรเทพ • กรมหมื่นศรีสุเทพ • กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ • กรมหมื่นเสพสุนทร • กรมหมื่นอมรมนตรี • กรมหมื่นนเรนทร์บริรักษ์ • กรมหมื่นไกรสรวิชิต • กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ • กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ • กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ • กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ • กรมหมื่นถาวรวรยศ • กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา • กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ • กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ • กรมหมื่นภูมินทรภักดี • กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส • กรมหมื่นมนตรีรักษา • กรมหมื่นเทวานุรักษ์ • กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร • กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ • กรมหมื่นอุดมรัตนราษี กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย • กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ • กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช • กรมหมื่นอมเรศรัศมี • กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ • กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ • กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ • กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ • กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ • กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ • กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ • กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ • กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร • กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย • กรมหมื่นปราบปรปักษ์ • กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ • กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา • กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ • กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป • กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร • กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม • กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ • กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ • กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี • กรมหมื่นกวีสุพจน์ปรีชา • กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ • กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส • กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ • กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช • กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย • กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร • กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต • กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ • กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ • กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
King's Standard of Thailand.svg = สืบราชสมบัติ • ตัวเอียง = ฝ่ายใน
สมัยกรุงศรีอยุธยา • สมัยกรุงธนบุรี • สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ด พ ก
พระราชโอรสในพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
รัชกาลที่ 1
เจ้าฟ้าฉิม* เจ้าฟ้าจุ้ย** พระองค์เจ้ากล้าย พระองค์เจ้าทับทิม พระองค์เจ้าอภัยทัต พระองค์เจ้าอรุโณทัย** พระองค์เจ้าทับ พระองค์เจ้าคันธรส พระองค์เจ้าสุริยา พระองค์เจ้าวาสุกรี พระองค์เจ้าฉัตร พระองค์เจ้าสุริยวงศ์ พระองค์เจ้าไกรสรX พระองค์เจ้าดารากร พระองค์เจ้าดวงจักร พระองค์เจ้าสุทัศน์
Emblem of the House of Chakri.svg
รัชกาลที่ 2
เจ้าฟ้ามงกุฎ* เจ้าฟ้าจุฑามณี** เจ้าฟ้าอาภรณ์ เจ้าฟ้ามหามาลา เจ้าฟ้าปิ๋ว พระองค์เจ้าทับ* พระองค์เจ้าหนูดำ พระองค์เจ้ากล้วยไม้ พระองค์เจ้าเนียม พระองค์เจ้าโคมเพชร พระองค์เจ้าพนมวัน พระองค์เจ้ากุญชร พระองค์เจ้าทินกร พระองค์เจ้ากุสุมา พระองค์เจ้ามั่ง พระองค์เจ้าเนตร พระองค์เจ้าเรณู พระองค์เจ้าอำไพ พระองค์เจ้าอัมพร พระองค์เจ้าขัตติยวงศ์ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ พระองค์เจ้าชุมแสง พระองค์เจ้ากลาง พระองค์เจ้าโต พระองค์เจ้านวม พระองค์เจ้าขัตติยา พระองค์เจ้ามรกฎ พระองค์เจ้านิลรัตน พระองค์เจ้าเน่า พระองค์เจ้าอรุณวงษ์ พระองค์เจ้ากปิตถา พระองค์เจ้าปราโมช พระองค์เจ้าเกยูร
รัชกาลที่ 3
พระองค์เจ้ากระวีวงศ์ พระองค์เจ้าคเนจร พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระองค์เจ้าดำ พระองค์เจ้าโกเมน พระองค์เจ้าศิริวงศ์ พระองค์เจ้างอนรถ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ พระองค์เจ้าอุไร พระองค์เจ้าชุมสาย พระองค์เจ้าเปียก พระองค์เจ้าอรรณพ พระองค์เจ้าลำยอง พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ พระองค์เจ้าอมฤตย์ พระองค์เจ้าสุบรรณ พระองค์เจ้าสิงหรา พระองค์เจ้าชมพูนุท พระองค์เจ้าจินดา
รัชกาลที่ 4
เจ้าฟ้าโสมนัส เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์* เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ พระองค์เจ้านพวงศ์ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ พระองค์เจ้าทักษิณาวัฏ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช พระองค์เจ้าศุขสวัสดี พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค พระองค์เจ้าเสวตรวรลาภ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ พระองค์เจ้าไชยานุชิต พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระองค์เจ้าเจริญรุ่งราษี พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ พระองค์เจ้าวรวรรณากร พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต พระองค์เจ้าไชยันตมงคล
รัชกาลที่ 5
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ^* เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์* เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ^ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ พระองค์เจ้ายุคลฑิฆัมพร พระองค์เจ้าอิศรวงศ์วรราชกุมาร พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ พระองค์เจ้าวุฒิสมัยวโรดม พระองค์เจ้าเขจรจิรประดิษฐ์ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช
รัชกาลที่ 6
ไม่มีพระโอรส
รัชกาลที่ 7
ไม่มีพระโอรสธิดา
รัชกาลที่ 8
ไม่มีพระโอรสธิดา
รัชกาลที่ 9
เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น